Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1061
Title: ประสิทธิภาพการบริหารงาน ด้านการปราบปรามการทุจริตของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)
Other Titles: Administrative efficiency in corruption suppression of Office of the National Anti-Corruption
Authors: น้ำฝน ศาสตร์พิสุทธิ์
metadata.dc.contributor.advisor: ปฐม มณีโรจน์
Keywords: การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- ไทย;สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ -- การบริหาร-- วิจัย;คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ -- บทบาทและหน้าที่
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการบริหารด้านการปราบปรามการทุจริตของสำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงนโยบายในการบริหารงานด้านการปราบปรามการทุจริตของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. และแนวทางการบริหารงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. 2) ศึกษาว่าแนวทางการบริหารงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. สอดคล้องกับหลักการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และหลักการบริหารงานคดีหรือไม่ อย่างไร และ 3) ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานด้านการปราบปรามการทุจริตที่เหมาะสม โดยใช้วิธีเก็บรวมรวบข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวน 8 ราย โดยจัดกลุ่มของผู้ให้ สัมภาษณ์เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คณะกรรมการ ป.ป.ช. กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. และ กลุ่มที่ 3 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปราบปราบการทุจริต ผลจากการศึกษาพบว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีนโยบายเน้นการบังคับใช้กฎหมายด้าน การปราบปรามการทุจริตต้องมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีคุณภาพ สำนักงาน ป.ป.ช. จึงมีแนวทาง ในการบริหารงานด้านการปราบปรามการทุจริตให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และค่านิยมหลักขององค์การ “ซื่อสัตย์ เป็นธรรม มืออาชีพ” ส่วนแนวทางการบริหารงานด้านการ ปราบปรามการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ภายใต้กรอบแนวคิดการวิจัยในเรื่องหลักการบริหารงาน ที่มีประสิทธิภาพ และหลักการบริหารงานคดี พบว่า การบริหารงานด้านการปราบปรามการทุจริต ของสำนักงาน ป.ป.ช. มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงาน มีการแบ่งงานกันทำ หรือการแบ่งฝ่ายงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงานเฉพาะเจาะจง มีการมอบหมายการ ควบคุมดูแลหรือช่วงการควบคุมที่เหมาะสม มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการบริหารงานคดี ที่มีความแตกต่าง แต่ภายใต้หลักการต่าง ๆ พบว่ายังมีปัญหาในทางปฏิบัติ จึงมีข้อเสนอว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ควรศึกษาเพื่อแก้ไขกฎหมายต่อไปว่า ควรมีการมอบอำนาจให้พนักงานไต่สวนมีอำนาจลง นามในหนังสือเพื่อเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือเรียกเอกสารหลักฐานจากบุคคลหรือจากหน่วยงาน ได้ด้วยหรือไม่ ควรกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนว่างานใดบ้างในการทำงานคดีเป็นหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการตามระเบียบ ควรศึกษากระบวนงาน หรือปรับปรุงระเบียบกฎหมายเพื่อลด ขั้นตอนการทำงาน ควรกำหนดตัวชี้ วัดเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลให้มีความเป็น เอกภาพ เน้นคุณภาพ และนำเรื่องของแบ่งขนาดของคดีมาใช้ ส่วนการมอบหมายงานตามความ เชี่ยวชาญงานเฉพาะประเภทที่มีความชัดเจนนั้น พบว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ยังไม่มีการดำเนินการตาม หลักการดังกล่าว จึงมีข้อเสนอว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างภายในสำนักใหม่ โดยมีการแยกประเภทของคดี และจัดแบ่งกลุ่มในสำนักตามประเภทของคดี
metadata.dc.description.other-abstract: Research on administrative efficiency in corruption suppression of the Office of the National Anti-Corruption Commission (ONACC) was a qualitative research. The objectives of this study were 1) to study about NACC commissioners’ policies and guidelines towards administration on corruption suppression of the ONACC 2) to study on whether and how those guidelines conform with administrative efficiency principle and case administrative principle 3) to identify proper resolution to enhance an efficiency concerning corruption suppression administration through interviewing eight key persons relating to such area. Interviewees were divided into three groups which were 1) NACC commissioners 2) ONACC executives and 3) corruption suppression officers. From this study, it was found that NACC commissioners had focused their administrative policies on efficiency, quick response and quality of performance of law enforcement. In consistent with the board policies, ONACC had responded by establishing guidelines and living up with the core value of an organization “Integrity Fairness Professionalism”. Considering administrative guidelines under conceptual frameworks regarding efficiency principle and case administrative principle, it was illustrated that ONACC administration on corruption suppression had delegation of authority and responsibility to officers, carried out a division of labor to specified officers, created a proper span of control, laid down a performance evaluation system and formulated systemically management of a variety cases. However, under above-mentioned principles, there was still a practical challenging; therefore ONACC should study whether law amending with respect to entrust inquiry officers to sign a written communication to summon any person to give statements or to require the presentation of relevant documents or evidence from any person or any agency is needed or not. An explicit guidelines or rule of thumb should be imposed in order to identify which type of work will be considered as an administrative work according to regulations. Furthermore, ONACC should furnish itself about work process or should consider amending relating laws and regulations for the benefit of reducing redundancy. ONACC should adopt an individual evaluation program to maintain harmonization in work flow and quality of performance. Case sizing should be applied to assignment process. Apart from those which ONACC had accomplished, ONACC had failed to comply with the guideline on delegation of work according to specialization. Thus, ONACC should reorganize its internal structure by categorizing cases and establishing divisions contribute to each category of cases.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1061
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NAMFON SASPISUT.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.