Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1069
Title: | การพัฒนาแนวคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ |
Other Titles: | The Development of Mathayomsuksa 4 students' concepts of digestive system and cellular respiration by using Inquiry - Based learning |
Authors: | บุญธิดา โรจนคุณธรรม |
metadata.dc.contributor.advisor: | กนกพร ฉายะบุระกุล |
Keywords: | สารอาหาร -- แง่โภชนาการ;อาหาร -- วิจัย;วิทยาศาสตร์ -- การทดลอง;การพัฒนาการศึกษา -- วิจัย;การย่อยอาหาร |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวคิดเรื่องระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 45 คน เก็บข้อมูลโดยการให้นักเรียนทาแบบวัดแนวคิดก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ วิเคราะห์คำตอบของนักเรียนโดยจัดกลุ่มคำตอบเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) แนวคิดสมบูรณ์ 2) แนวคิดสมบูรณ์บางส่วน 3) แนวคิดไม่สมบูรณ์และคลาดเคลื่อนบางส่วน 4) แนวคิดคลาดเคลื่อน และ 5) ไม่มีแนวคิด จากนั้นหาค่าความถี่และร้อยละทั้งก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ วิเคราะห์คะแนนการพัฒนาแนวคิดโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์อยู่ในกลุ่มแนวคิดสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยค่าเฉลี่ยของแนวคิดสมบูรณ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.08 เป็นร้อยละ 76.45 จำนวนนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มแนวคิดคลาดเคลื่อนและไม่มีแนวคิดลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้นักเรียนมีคะแนนการพัฒนาแนวคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยยังพบว่า นักเรียนยังคงมีแนวคิดคลาดเคลื่อนในบางแนวคิด สาเหตุอาจมาจากธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความซับซ้อนต่อเนื่องเป็นกระบวนการ และระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้มีอย่างจำกัด |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research aimed to develop students’ scientific concept of digestion and cellular respiration by using inquiry based teaching. The participants were Mathayomsuksa 4 for 45 students. All students performed the test before and after inquiry base learning and then the answers were analyzed and classified into 5 categorizes; 1) complete understanding 2) partial understanding 3) partial understanding with specific misconception 4) specific misconception 5) no understanding. The data was analyzed by using t-test into frequency and percentages of both before and after the Inquiry-based learning. The results revealed that the most achievement of students can be increased dramatically after inquiry base teaching method in both digestive system and cellular respiration, especially in the sound understanding categorize. The mean average of complete understanding group increased from 32.08% to 76.45%. The number of students in specific misconception and no understanding groups significantly decreased. Moreover, the students’ posttest score on development of scientific concept was significantly higher than their pretest one at the .05 level of significance. The cause specific misconception may be the content of digestive system and cellular respiration is much more difficult and time in the classroom is limited. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การสอนวิทยาศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1069 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-TS-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonthida Rotjankunnatam.pdf | 9.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.