Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/113
Title: การพัฒนาทักษะการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
Other Titles: The development of grade 10 students’ participation and learning achievement by using problem-based learning (PBL)
Authors: กาญจนา กั้วสิทธ์
metadata.dc.contributor.advisor: ธเนศ พงศ์ธีรัตน์
Keywords: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม;การจัดการเรียนรู้
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 25 คน ณ โรงเรียนขนาดใหญ่ในจังหวัดปทุมธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง การหายใจระดับเซลล์จำนวน 4 แผน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบบันทึกภาคสนาม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบวัดทักษะการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยการหาค่า normalized gain และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลังเรียนกับเกณฑที่ร้อยละ 70 โดยใช้การทดสอบ t-test แบบ One sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสารวจทักษะการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 2) นักเรียนมีคะแนนผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยรายชั้นเรียนเท่ากับ 0.61 และมีผลการเรียนรู้ทางการเรียนรายบุคคลในเกณฑ์สูง ปานกลาง และต่ำ จำนวน 6, 17 และ 2 คน ตามลำดับ และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมี ความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับ “มาก” ค่าเฉลี่ยจากแบบสอบถามความพึงพอใจเท่ากับ 3.65
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research were to develop grade 10 students’ participation in biology, to compare their learning achievement in the subject with the average score of 70% specified by the school’s criteria, and to explore student satisfaction towards problem-based learning (PBL) instruction. The samples were 25 grade 10 students at a large-sized school in Pathumthani Province during the first semester of the academic year 2019, the number of which was obtained from purposive sampling. The research instruments were four problem-based learning (PBL) lesson plans on cellular respiration, classroom behavior, teaching observation, a field note, a learning achievement test used as a pretest and posttest with a confidence interval of 0.93, and student participation observation. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, ttest, and normalized gain. The research findings showed that the mean scores of student participation observation of grade 10 students after the instruction with problem-based learning (PBL) was at a very good level. The average normalized gain of the classroom scores was 0.61 higher than that of the pretest. The normalize gains of 6, 17, and 2 students were classified as high, medium, and low respectively. The posttest mean score was higher than the average score of 70 % specified by the school’s criteria with a significance level of .01. Student satisfaction was high with a mean score of 3.65.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/113
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanjana Kuasit.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.