Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1144
Title: | การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดแก่นมะหาดในรูปไมโครอิมัลชัน |
Other Titles: | Products Development From The Extracts Of Artocarpus Lakoocha Heartwood In Microemulsion |
Authors: | นิจชิตา พงศ์ฉบับนภา |
metadata.dc.contributor.advisor: | ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา, ธิติมา หลินหะตระกูล |
Keywords: | มะหาด (พืช) สารสกัดจากพืช -- วิจัย;มะหาด (พืช) -- วิจัย |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดแก่นมะหาดในรูปไมโครอิมัลชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการซึมเข้าสู่ผิวหนัง และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำให้ผิวขาว ไมโครอิมัลชันเป็นระบบที่เตรียมได้ง่าย มีความคงตัวดี ใช้สารก่ออิมัลชันหรือ สารลดแรงตึงผิวในปริมาณที่น้อย และมีลักษณะใสน่าใช้ การวิจัยนี้เตรียมไมโครอิมัลชันด้วยวิธีการสร้าง Pseudoternary Phase Diagrams โดยการไตเตรทองค์ประกอบของไมโครอิมัลชันด้วยนํ้า เพื่อหาสัดส่วนโดยนํ้าหนักที่เหมาะสมของวัฏภาคนํ้ามัน วัฏภาคสารก่ออิมัลชัน และวัฏภาคนํ้า การวิจัยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างระบบที่ไม่ใช้สารลดแรงตึงผิว กับระบบที่ใช้ สารลดแรงตึงผิวเริ่มด้วยการหาอัตราส่วนผสมระหว่าง Benzyl Alcohol : Absolute Ethyl Alcohol: Propylene Glycol และนำไปทดลองเพื่อหาพื้นที่การเกิดไมโครอิมัลชันโดยใช้เป็นวัฏภาคนํ้ามันแล้วคำนวณเปอร์เซ็นต์พื้นที่การเกิดไมโครอิมัลชัน ได้สูตรที่ดีทั้งหมด 3 สูตร นำไปวัดขนาดอนุภาค ได้ผลดังนี้ สูตรที่ 1, 2, และ 3 มีขนาด 25.33 ± 5.50, 19 ± 1.0 และ 28.67 ± 1.15 นาโนเมตร และค่า Zeta Potential เท่ากับ -0.40, -0.22 และ-0.49 มิลลิโวลต์ ตามลำดับ แบบที่ใช้สารลดแรงตึงผิวคือ Tween 20 กับ Tea Tree Oil ได้สูตรที่ดีทั้งหมด 3 สูตรเช่นกัน แล้ววัดขนาดอนุภาค พบว่าสูตรที่ 1, 2, และ 3 มีขนาด 564 ± 3.60, 354.33 ± 16.74 และ 471.33 ± 11.67 นาโนเมตร และค่า Zeta Potential ได้แก่ -0.45, -0.10, และ -0.19 มิลลิโวลต์ ตามลำดับ สรุปได้ว่า ไมโครอิมัลชันสารสกัดแก่นมะหาดแบบไม่ใช้สารลดแรงตึงผิว จะได้ขนาดอนุภาคเล็กกว่าระบบที่ใช้สารลดแรงตึงผิว ส่วนของประจุมีค่าใกล้เคียงกัน ไมโครอิมัลชันแบบไม่ใช้สารลดแรงตึงผิว จัดเป็นระบบที่ไม่ใช้สารลดแรงตึงผิว ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่เป็นที่ต้องการของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this research was to develope products from Artocarpus lakoocha heartwood extract in microemulsion form which can increase skin whitening. Microemulsion is easy to preparare, it is thermodynamically stable with good appearance and contains high concentration of emulsifying agent. A pseudoternary phase microemulsion system was constructed in order to determine the optimum ratio of concentration of oil phase, emulsifier phase and water using titration method. The systems containing either surfactant were compared.The optimum ratios of concentration of benzyl alcohol, absolute ethyl alcohol, and propylene glycol was determined and then they were mixed with tea tree oil. The microemulsion area were recorded. From the percentage of microemulsion area, formula 3 was choosen and mixed with Artocarpus lakoocha heartwood extract before measure the dropsize. The results were 25.33 ± 5.50, 19 ± 1.0 and 28.67 ± 1.15 nanometer and zeta potential were -0.40, -0.22, and -0.49 mV respectively. For Tween 20 and tea tree oil, the procedure were used the same method. The results were 564 ± 3.60, 354.33 ± 16.74 and 471.33 ± 11.67 nanometer and zeta potential were -0.45, -0.10, and -0.19 mV, respectively. It was concluded that microemulsion of Artocarpus lakoocha heartwood extract in non-surfactant (free-surfactant) form with tea tree oil would possess the smaller droplet size more than the microemulsion containing Tween 20 with tea tree oil. The zeta potentials were not different. In conclusion the microemulsion in non-surfactant form is a good preparation for developing new products |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การแพทย์แผนตะวันออก |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1144 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Ort-OM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NIJCHITA PONGCHABUBNAPA.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.