Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1152
Title: การพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว
Other Titles: The development of law for protecting the right to privacy
Authors: นพมาศ เกิดวิชัย
metadata.dc.contributor.advisor: ศิรภา จำปาทอง, กุลพล พลวัน
Keywords: กฎหมาย -- วิจัย;การละเมิดสิทธิมนุษยชน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ปัจจุบันคนในสังคมต่างละเลย “ความเป็นส่วนตัว” ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ควรก้าวล่วงต่อกัน เพราะบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันมิให้บุคคลอื่นล่วงละเมิดต่อความเป็นส่วนตัวอันเป็นที่มาของ “สิทธิความเป็นส่วนตัว” ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1968 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 ได้กำหนดการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีโดยไม่ปรากฏมีการตั้งข้อสงวนประการใดไว้ แต่ที่ผ่านมานอกจากการบัญญัติรับรองสิทธิดังกล่าวในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2550 แล้วยังไม่มีกฎหมายลำดับรองออกบังคับใช้ ดังนั้นหากเกิดการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวจึงต้องปรับบทกฎหมายตามหลักกฎหมายทั่วไป อันได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องละเมิด และประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถใช้บังคับเป็นการเฉพาะได้ เนื่องจากเจตนารมณ์ในการให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันทำให้ไม่สามารถบังคับใช้ให้เกิดผลได้จริง วิทยานิพนธ์เล่มนี้เห็นว่าประเทศไทยซึ่งใช้ระบบปบระมวลกฎหมายจึงควรจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้มีบทบัญญัติกฎหมายที่สามารถให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวให้ชัดเจน เพราะในการพิจารณาอรรถคดีผู้พิพากษาไม่สามารถใช้ดุลยพินิจสั่งการตามที่เห็นควรได้อย่างเช่นในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
metadata.dc.description.other-abstract: Nowadays, many people in society normally do not respect the privacy of other individuals. Because the reason that every person has the right to prevent any action that violation this or her privacy, this lead to the "right to privacy" The Universal Declaration of Human Rights of 1968 and The Convention on the Rights of the Child of 1989 provide the protection of The Right to Privacy. Thailand has signed these Conventions and declarations without any reservation. Even the Constitution of Thailand B.E. 2534 and the Constitution of Thailand B.E. 2550 contains a provision relating to the protection of The Right to Privacy; however, there is no subordinate legislation in order to support the enforcement. Accordingly, in case those violations of The Right to Privacy have occurred, the authority has to implement the fact with the Civil and Commercial Code relating to tort act and Criminal Code. This lead to impractical enforcement from the different of the objective of these laws. This thesis suggests that The Thai authority should amend the Civil and Commercial Code and Criminal Code to ensure and protect The Right to Privacy. Moreover, this amendment should use the common-law statute as a guideline to give the discretion to the appointed judge to protecting The Right to Privacy
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1152
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppqmas Girdwichai.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.