Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1161
Title: การปฏิบัติชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พอลิเมอร์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
Other Titles: The development of an exemplary inquiry experiment sets to support learning outcomrs and science process skills of the polymer in everyday life for muttayomsuksa 4th students at Suankularbwittayalai Rang School
Authors: กัญญ์พิดา จริยา
metadata.dc.contributor.advisor: ปาริชาติ นารีบุญ
Keywords: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต -- นักเรียน -- วิจัย;วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- วิจัย;พอลิเมอร์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและพัฒนาชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะ เรื่อง พอลิเมอร์ในชีวิตประจำวัน เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้วิชา เคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เรียนชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะ เรื่อง พอลิเมอร์ในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เรียนชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต จำนวน 130 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งการวิจัยได้ดำเนินการตาม 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) การเตรียมพัฒนาชุดปฏิบัติการโดยการทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) การพัฒนาและวิเคราะห์คุณภาพของบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จานวน 3 บท ได้แก่ การเรียนรู้ถึงความหมายพอลิเมอร์โดยสามารถจาแนกพอลิเมอร์ที่ใช้ในชีวิตประจาวันบางชนิดได้ การทดสอบสมบัติของพอลิเมอร์บางชนิดเพื่อตระหนักถึงการใช้พอลิเมอร์ในชีวิตประจาวัน และการสารวจการใช้ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์และวิธีการจัดการขยะพอลิเมอร์ในชีวิตประจำวัน 3) ใช้ชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะที่พัฒนาขึ้นสำหรับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พอลิเมอร์ ผลการวิจัย พบว่า จากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปพัฒนาชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะได้ ซึ่งชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากและมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 88.13/87.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 นักเรียนที่เรียน ด้วยชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดปฏิบัติการแบบสืบเสาะมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this study aimed to develop an exemplary inquiry experiment sets to support learning outcomes and science process skills of the polymer in everyday life for Muttayomsuksa 4th.. The sample groups were 130 students from Muttayomsuksa 4th classrooms who learned at Suankularbwittayalai Rangsit School. First of all, prepared the development of an exemplary inquiry experiment sets in laboratory. The second step was develop and analysis quality of 3 experiment sets such as study meaning on polymer in everyday life, test qualify and survey about polymer to use in everyday life and 4R (reuse, reduce, repair, and recycle). The last step used an exemplary inquiry experiment sets to the students at Muttayomsuksa 4th classrooms of Suankularbwittayalai Rangsit School. This result revealed that the experiments performed in the laboratory were applicable for innovative scientific laboratory. The developed exemplary inquiry experiment sets had an excellent quality and efficiency of 88.13/87.19 which was higher than the normal rate of 80/80. The post-test scores about learning achievement were significantly higher than pre-test scores at the 0.01 level and scientific process skills after learning were significantly higher than before learning at 0.01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1161
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KANPIDA JARIYA.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.