Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1162
Title: การพัฒนาชุดปฏิบัติการทดลองเรื่อง เคมีไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
Other Titles: The development of electrochemistry practice sets to support learning outcomes and scientific process skills for mattayomsuksa 6 students at princess Chulabhorn's College Pathumthani
Authors: จักรพงษ์ น้อยสีภูมิ
metadata.dc.contributor.advisor: สุพัฒน์ มูลสิน
Keywords: โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย -- ปทุมธานี;เคมีไฟฟ้า -- วิจัย;วิทยาศาสตร์ -- การทดลอง
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสร้างและพัฒนาชุดปฏิบัติการทดลองเคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายด้วยชุดปฏิบัติการทดลองเคมีไฟฟ้า กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดปฏิบัติการทดลองเคมีไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) แบบวัดผลการเรียนรู้เคมีไฟฟ้า เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเติมคำ จำนวน 40 ข้อมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.2-0.8 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.55-0.63 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 3) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดปฏิบัติการทดลองเคมีไฟฟ้า ผลการวิจัยพบว่า ชุดปฏิบัติการทดลองเคมีไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 91.00/92.50 ผลการเรียนรู้วิชาเคมีไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 ที่ได้รับการเรียนการสอน โดยใช้ชุดปฏิบัติการเคมีไฟฟ้าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05นักเรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 95 ของนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดปฏิบัติการทดลองเคมีไฟฟ้า อยู่ในระดับดี (x=4.33)
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this research were to construct and develop the electrochemistry practice sets for Mattayomsuka 6 students to support learning outcomes and scientific process skills. The sample used in this study was 40 students from Mattayomsuksa 6/7 at Chulabhorn’s College Pathumthani School, using the purposive sample random sampling. The research tools comprised of 1) the electrochemistry practice set with the efficiency at 80/80 criterion, 2) the 40 question tests for chemistry learning outcomes on electrochemistry with the difficulty between 0.2-0.8, the discrimination between 0.55-0.63 and the reliability at 0.92, 3) the scientific process skills test, and 4) student satisfaction evaluation form. It was found from the research that the electrochemistry practice set had the efficiency of 91.00/92.50. The score from the post-test was significantly higher than that of the pre-test at the statistic level of 0.05. For the scientific process skill, 38 students or 95-percent students received more than a passing score of 70%. Finally, students satisfied on the electrochemistry practice sets at a good level (x=4.33)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1162
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JAKKAPONG NOISEEPHUM.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.