Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1177
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุธรรม เชื้อประกอบกิจ | - |
dc.contributor.author | เกริกไกร วีระเชาวภาส | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-12T05:18:17Z | - |
dc.date.available | 2022-07-12T05:18:17Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1177 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) --มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัย เรื่อง “การกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารโดยศึกษาวิเคราะห์คำสั่งของศาลฎีกา (แผนกคดีเลือกตั้ง) ช่วงปี พ.ศ.2551-2552 คดีความผิดเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจากการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 กรณีการสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติการณ์ของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการร่วมกันกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ตามคำสั่งศาลฎีกา (แผนกคดีเลือกตั้ง) เมื่อปี พ.ศ. 2551-2552, (2) ศึกษาสาเหตุการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550, (3) เสนอแนะแนวทาง ป้องกันมิให้ผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองร่วมมือกับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการกระทำความผิดของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครมี 2 ลักษณะคือ (1) มีลักษณะเป็นการคบหาสมาคมที่แตกต่าง กล่าวคือ ผู้กระทำผิดหลายคนสมคบและร่วมมือกันกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอย่างเป็นขบวนการ มีการวางแผนนัดหมาย และมีการแบ่งหน้าที่กันทำ อย่างเป็นขั้นตอนเป็นตอน (2) มีลักษณะเป็นการลอกเลียนแบบ 2) สาเหตุของการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งที่สำคัญมี 3 ประการคือ (1) ผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็นส่วนตัวอยู่ก่อนแล้ว การกระทำผิดมิได้ เกิดขึ้นจากค่าจ้าง หรือผลประโยชน์ทางการเงิน หรือทรัพย์สินเป็นการตอบแทน (2) พฤติกรรมการเลียนแบบการกระทำความผิดของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัคร ซึ่งมาจากซื้อเสียงเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งอื่นหรือจังหวัดอื่น 3) โครงสร้างการบังคับใช้กฎหมาย มุ่งลงโทษผู้สมัครเป็นสำคัญ มิให้ความสำคัญกับการลงโทษผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัคร ซึ่งมีพฤติการณ์เป็นผู้ก่อ ผู้ใช้ ตัวการ และผู้สนับสนุนการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งแต่อย่างใด จึงเกิดการเลียนแบบรูปแบบพฤติกรรม วิธีคิดและความรู้สึกนึกคิด และมีการพัฒนาเป็นนวัตกรรมของการเลียนแบบ ข้อเสนอแนะการวิจัยพบว่า (1) ควรกำหนดมาตรการลงโทษผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งที่ “รุนแรง รวดเร็ว และแน่นอน” (2) ควรสร้างมาตรฐานทาง จริยธรรมทางการเมืองกับผู้สมัครทุกรายในการหาเสียงเลือกตั้ง (3) ควรใช้การเรียนรู้ทางสังคมในการกล่อมเกลาให้คนในสังคมปฏิเสธการซื้อเสียงเลือกตั้ง (4) ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการต่อต้าน “การซื้อสิทธิ์ขายเสียงเลือกตั้ง” และการกีดกันผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งไม่ให้มีที่ยืนในสังคม | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | กฎหมายเลือกตั้ง | en_US |
dc.subject | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ -- การเลือกตั้ง -- วิจัย | en_US |
dc.title | การกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 | en_US |
dc.title.alternative | Offenses of the Thai ecection law committed by political stakeholders and candidates during the Thai general election held on 23 December, 2007 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This qualitative research aims to (1) investigate the behavior of political stakeholders and candidates during the Thai General Election held on the 23 December 2007, in particular, candidates elected Members of Parliament who may have represented political stakeholders and committed offenses under the Thai election law by order of the Supreme Court (Department of Elections) from 2008 to 2009, (2) determine the causes of the violation of election laws by political stakeholders and candidates who committed offenses under the Thai election law during Thai General Election held on the 23 December 2007, and (3) offer guidelines to prevent political stakeholders cooperating with candidates to break Thai election laws in future Thai general elections. The data used in the research was gathered from documents and case studies including: judgments by the Supreme Court (Department of Elections) from 2008 to 2009 and offenses of Thai election law committed during the Thai general election held on the 23 December 2007 by political stakeholders and candidates. The results show: 1) Offenses committed by stakeholders and political candidates can be divided into two types: (1) co-offenders conspire and collaborate through associations to commit offenses under the Thai election law, (2) repetition of previous offenses under Thai election law. 2) The causes of offenses committed under the Thai election law by the co-offenders can be divided into three types: (1) the relationship between the co-offenders was of a close and personal nature. Therefore, the offense did not result from the co-offenders’ requirement for assets, wealth or payment, (2) repetition of illegal behavior by the co-offenders in previous Thai general elections, (3) law enforcement has focused on candidates not stakeholders who were troublemakers, employees, proxies, and supporters. The following guidelines are offered to prevent political stakeholders cooperating with candidates to break election laws in future Thai general elections: (1) The government should implement legal measures that permit stakeholders and candidates who commit offenses of the Thai election law to be punished more harshly, (2) standards should be established that instill ethical and moral behavior in all political candidates, (3) social learning should be used to convince the electorate to disregard attempts at vote buying, (4) the electorate should participate in an “anti-vote buying” campaign to discourage political candidates and stakeholders from engaging in illegal election campaigns. Student’s | en_US |
dc.description.degree-name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม | en_US |
Appears in Collections: | PAI-PA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
POL.MAJ. KIRKKAI WEERACHAOVAPAS.pdf | 3.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.