Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/118
Title: | สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 |
Other Titles: | The actual condition and desirable condition of schools student care and support system under Pathum Thani Primary Educational Service area 1 |
Authors: | ภูษณิศา ม่วงเกษม |
metadata.dc.contributor.advisor: | ประยุทธ ชูสอน |
Keywords: | นักเรียน -- การให้คำปรึกษา;นักเรียน -- การดูแล |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 334 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและ Modified Priority Needs Index: PNI modified ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและระดับมากที่สุดตามลำดับ 2) ความต้องการจาเป็นพิจารณาจากค่า PNI modified อยู่ระหว่าง 0.058 - 0.076 เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการคัดกรองนักเรียน รองลงมาด้านการส่งต่อนักเรียน และด้านการส่งเสริมนักเรียน 3) แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรมีการคัดกรองนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา สถานศึกษาควรจัดประชุมผู้ปกครอง ทำความเข้าใจและหาข้อตกลงร่วมกัน กำหนดแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต โดยการจัดกิจกรรมชมรม/ชุมนุม สถานศึกษาควรประสานงานกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในด้านการส่งเสริมสุขภาพ มีการประชุมชี้แจงถึงปัญหาของนักเรียน |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purposes of the present descriptive research were to study the actual and desirable condition needs assessment and guidelines for system to support students in schools under the Office of Pathum Thani Primary Educational Service Area 1. The sample groups used in the research were teachers in schools, number 334 which determines the sample size from the finished table. Data were collected using 5-level rating scale questionnaire, analyzed by computer use descriptive statistics calculate the percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index: PNI modified ,qualitative data use content analysis based on 5 key aspects. The research found that 1) Actual conditions and desirable conditions, the student support system under the Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1 overall averages have high level and the highest level, respectively. 2) Needs assessment to be considered from the PNI modified value between 0.058 - 0.076, in the following order student screening. followed by students and the promotion of students. 3) Guidelines for developing student support systems, there should be screening of students in 3 groups: normal group, risk group and problem group school should hold meetings of the collar holders, understand and find agreement, determine guidelines for developing life skills schools should coordinate with public health agencies to educate students in health promotion, meeting to clarify the issue of students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การบริหารการศึกษา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/118 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-EA-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phusanisa Muangkasem.pdf | 837.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.