Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1201
Title: การสร้างชุดการทดลองเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมทักษะการวัดและการคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปทุมวิไล
Other Titles: The construction of experimental set in stoichiometry to develop measuring and calculating skills of Mattayomsuksa 5 students at Pathumwilai schools
Authors: วิริยะ สุขช่วย
metadata.dc.contributor.advisor: ปรานอม ขาวเมฆ
Keywords: โรงเรียนปทุมวิไล -- ไทย -- วิจัย;การทดลอง
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการทดลองเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ และนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (2) เพื่อพัฒนาทักษะการวัดและการคำนวณเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อชุดการทดลองของนักเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปทุมวิไล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า ชุดการทดลองเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์มีประสิทธิภาพ 81.60/84.40 (ทักษะการวัด) และ 82.80 (ทักษะการคำนวณ) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยทักษะการวัดและทักษะการคำนวณของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการทดลองเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก โดยชุด การทดลองเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ ที่ผู้วิจัยออกแบบนั้น สามารถนำไปใช้ทดลองในวิชาเคมีในชั้นเรียนได้หลายกิจกรรมการเรียนรู้นอกจากเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ เช่น ปฏิกิริยาการไทเทรต และปฏิกิริยาการเกิดตะกอน นอกจากนั้นชุดการทดลองสามารถใช้เก็บอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำการทดลองและมีอุปกรณ์เสริมที่ติดตั้งภายในชุดการทดลอง ได้แก่ ไม้บรรทัด สเกลบอกค่าพีเอช ตารางธาตุ ฐานสำหรับยึดขาตั้ง ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สอนในการทำการทดลองในห้องเรียน และชุดการทดลองนี้ยังมีประโยชน์ในด้านประหยัดพื้นที่ใช้สอยในการจัดเก็บและง่ายต่อการดูแลรักษา
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of the research were (1) to construct and evaluate the efficiency of an experimental set of Stoichiometry and to use for teaching in Stoichiometry (2) to develop measuring skill and the calculating skill of students and (3) to study the satisfaction for the students to an experimental set. The target group was 25 students who are studying in Muttayomsuksa 5/11 at Pathumwilai School in the first semester of year 2014. The results showed the efficiency of an experimental set were 81.60/84.40 (the measuring skill) and 82.80 (the calculating skill) which were higher than the criterion. The student achievement via t-test showed that the measuring skill and the calculating skill of the post-test higher than pre-test which was significantly at .01 (p≤0.01). Furthermore, the satisfaction to an experimental set of the students was at the good level. The experimental set can use for many experiments such as titration reaction and precipitation reaction. It is conveniences to keep equipment for the experiments: such as ruler, pH Scale, periodic table and stand platform. Also, the experimental set useful to save the area for storing and easy to maintain.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1201
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WIRIYA SUKCHOUY.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.