Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1204
Title: การพัฒนาบทปฏิบัติการ เรื่อง การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมวิไล
Other Titles: The development of practical laboratory in topic of diffusion and osmosis to enhance learning in biology of Mattayomsuksa 4 students at Pathumwilai School
Authors: ศิริรัตน์ ก้านกิ่งคำ
metadata.dc.contributor.advisor: ปานันท์ กาญจนภูมิ
Keywords: โรงเรียนปทุมวิไล -- ไทย -- วิจัย;วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- ไทย -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: บทปฏิบัติการ เรื่อง การลําเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ พัฒนาขึ้นสําหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมวิไล ผู้วิจัยได้สร้างบทปฏิบัติการ เรื่องการลําเลียงสารผ่านเยื่อหุ้ม เซลล์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะ โดยเลือกใช้สีผสมอาหารทดลองเกี่ยวกับการแพร่ของ สารกับอุณหภูมิ และทดลองการออสโมซิสของมันเทศ ซึ่งวัตถุประสงค์ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ 1) หา ค่าประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน สําหรับกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หนึ่งห้องเรียน โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทปฏิบัติการ เรื่อง การลําเลียงสารผ่านเยื่อหุ้ม เซลล์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้จํานวน 10 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.40-0.80 และมีค่าอํานาจจําแนก (r) ตั้งแต่ 0.33-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.78 และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่า T-Dependent Test ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการ เรื่อง การลําเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 87.78 /81.11 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) นักเรียนที่เรียนเรื่องการลําเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ด้วยบทปฏิบัติการมีผลการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยผลการเรียนรู้ก่อน เรียนและหลังเรียน เท่ากับ 4.03 และ 8.11 ตามลําดับ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยบทปฏิบัติการ เรื่อง การลําเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มีความพึง พอใจอยู่ในระดับที่มาก จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าบทปฏิบัติการ เรื่อง การลําเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะ สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสามารถสร้าง ความรู้ด้วยตนเอง
metadata.dc.description.other-abstract: Researchers have created an operating practical laboratory in topic of diffusion and osmosis including the inquiry process. The food color was selected in the effect of temperature in the diffusion. The sweet potato was selected for osmosis experiment. The objectives of the development of the practical laboratory in topic of diffusion and osmosis for Muttayomsuksa 4 students at Pathumwilai school are in order to: 1) the efficiency E1/E2 standard of practical laboratory, 2) compare the learning outcome. This study used 36 students in Muttayomsuksa 4 at Pathumwilai school in the first semester of 2014 by request cluster random sampling one classroom from four classroom. The tools that used in this study were included practical laboratory in the topic diffusion and osmosis, learning plan, learning outcome test and learning satisfaction. The level of difficulty of the items was during on 0.40-0.80. Discrimination power of the items was during on 0.33-1.00 and reliability value was 0.78. The statistic analyzed of data were the E1/E2 standard, t-dependent test, mean score and standard deviation. The results of the study were as follows: 1) the practical laboratory in the topic diffusion and osmosis was 87.78 /81.11 which reached the standard 80/80. 2) the mean score collected from post-learning outcome test was 8.11% which be significantly higher than those collected from the pre-learning outcome test, 4.03% (p<.01). 3) the students' satisfaction in learning practical laboratory in the topic diffusion and osmosis was in high level. The results indicated that practical laboratory in topic of diffusion and osmosis with inquiry process can be used to engage students to learn which students can made self-knowledge.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1204
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SIRIRAT KANKINGKAM.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.