Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1212
Title: วิเคราะห์เปรียบเทียบการอิมโพรไวส์ของ อลัน โฮลด์สเวิร์ธ และ โจนาธาน ไครสเบิร์ก ในบทเพลงเคาท์ดาวน์
Other Titles: A comparative analysis of Allan Holdsworth and Jonathan Kreisberg improvisation on countdown
Authors: ณัฐกร พรปฤงคพ
metadata.dc.contributor.advisor: เด่น อยู่ประเสริฐ
Keywords: อลัน โฮลด์สเวิร์ธ;โจนาธาน ไครสเบิร์ก;การอิมโพรไวส์ -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอการวิเคราะห์เปรียบเทียบการอิมโพรไวส์ของอลัน โฮลด์สเวิร์ธ และ โจนาธาน ไครสเบิร์กจากบทเพลงเคาท์ดาวน์ ประพันธ์โดยจอห์น โคลเทรน โดยมี ขอบเขตการวิเคราะห์ในประเด็นที่สําคัญได้แก่ กลุ่มโน้ตเซต 3 ตัว การอิมโพรไวส์ด้วยเสียงประสาน เทคนิค และลักษณะเสียงกีตาร์ ประเด็นของกลุ่มโน้ต 3 ตัวในรูปแบบไพรม พบว่า โฮลด์สเวิร์ธได้นํากลุ่มเซตในรูปแบบ (013) และ (025) มาใช้ในการอิมโพรไวส์บ่อยครั้ง ซึ่งแตกต่างกับกลุ่มเซตของไครสเบิร์ก ที่ ประกอบด้วยเซต (036) และ (037) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มโน้ตทรัยแอด อันเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ผู้วิจัยพบเจอเซต (024) จากการบรรเลงอิมโพรไวส์ของนักกีตาร์ทั้ง 2 คนนี้ ซึ่งเป็น ส่วนประกอบของบันไดเสียงเมเจอร์ 3 ลําดับเสียง เช่น (C-D-E) หรือ (D-E-FH) เป็นต้น ด้านการ อิมโพรไวส์ด้วยเสียงประสานนั้น ผู้วิจัยพบในการบรรเลงกีตาร์ของไครสเบิร์กเท่านั้น ซึ่งปรากฏเจอ ในลักษณะคอร์ดคู่ 4 เรียงซ้อนกัน และคอร์ดทบขยาย เป็นต้น ด้านประเด็นอื่นๆ อาจมุ่งเน้นใน รูปแบบการบรรเลงกีตาร์เป็นส่วนใหญ่ และลักษณะเสียงกีตาร์ของทั้ง 2 นี้ จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า โฮลด์สเวิร์ธมักบรรเลงด้วยเทคนิคสเลอร์ (Slur) ผสมผสานกับเสียงแตก (Distortion) ซึ่งแตกต่างกับ รูปแบบเสียงกีตาร์ และการบรรเลงกีตาร์ของไครสเบิร์กที่มีลักษณะเป็นเสียงเสียงธรรมดา (Clean) ผสมกับเทคนิคการดีดสลับ และรูปแบบการบรรเลงโน้ต-คอร์ด-โน้ต
metadata.dc.description.other-abstract: This research presents a comparative analysis of Allan Holdsworth and Jonathan Kreisberg improvisation on "countdown", the song composed by John Coltrance. There are three main topics which are Set 3 note, harmony technical with other important music elements are focused in this research. In 3 note of Prime group, the research showed that Holdsworth used Set form (013) and (025) to improvise frequently differ from Kreisberg who used Set (036) and (037) which has a similar characteristics to the triad note group. In addition, the researchers found large Set (024) of the improvisation of Holdsworth and Kriseberg which is similar to the first 3 group note on major scale as (C-D-E) or (D-E-F#). About the harmony, it was found only in the improvisation of Kriesberg which is often seen in the quarter harmony and extended chord. Other issues that are presented in this research will be focused on the technique and sound for guitar. Since that Holdsworth played with slur technical Combined with distortion effects on the contrary to Kriseberg. He used alternate picking and note-chord-note. While the sound of the guitar of Kriesberg is clean sound.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม. (ดนตรี)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ดนตรี
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1212
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ms-Music-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NATTAGON PORNPARINGKOP.pdf7.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.