Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1224
Title: ประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับรังสีรักษา
Other Titles: Symptoms experience and quality of life in patients with advanced cancer receiving radiation therapy
Authors: แสงระวี แทนทอง
metadata.dc.contributor.advisor: อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: ผู้ป่วย -- การจัดการดูแล -- วิจัย;มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล -- วิจัย;การรักษาด้วยรังสี;คุณภาพชีวิต
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามส่วนใหญ่มีอาการและอาการแสดงมากกว่าหนึ่งอาการซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ร้อยละ 45 ของผู้ป่วยได้รับการบรรเทาอาการโดยรังสีรักษาซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามรังสีรักษาเองก็มีผลให้เกิดอาการข้างเคียงด้วยเช่นกัน การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์อาการกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับรังสีรักษา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ต้องได้รับรังสีรักษาแบบประคับประคองที่หน่วยรังสีมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประสบการณ์อาการ MSAS และ 3) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต FACT-G เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนรับรังสีรักษา หลังรับรังสีรักษาครั้งสุดท้ายและหลังการรับรังสีรักษา 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์ของความถี่อาการ ความรุนแรงอาการและคุณภาพชีวิตในแต่ละช่วงเวลา ด้วยสถิติ Friedman test และหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตโดยใช้สถิติ Spearman Ranks Correlation ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอาการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อ่อนเพลีย/เปลี้ย/ไม่มีแรง ปวด นอนไม่หลับ/นอนหลับยาก ไม่อยากอาหาร/เบื่ออาหารและเวียนศีรษะ/มึนศีรษะ อาการปวดเป็นอาการที่มีความถี่และความรุนแรงมากที่สุด จากการติดตามการดูแลและรักษาพบว่าความถี่อาการปวดและอาการเวียนศีรษะลดลงทุกช่วงที่ทำการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .006, .004) ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย/เปลี้ย/ไม่มีแรง อาการปวดและอาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .012, .000 และ .048) คุณภาพชีวิตโดยรวมและคุณภาพชีวิตรายด้านอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงในทุกระยะและยังพบว่าคุณภาพชีวิตด้านร่างกายด้านอารมณ์และจิตใจ และคุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000, .000 และ .001) และการรับรู้อาการ ความถี่อาการและความรุนแรงอาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตโดยรวม (p < .001)
metadata.dc.description.other-abstract: Most patients with advanced cancer have signs and symptoms more than one, which affects the quality of life. 45 percent of patients get relief symptoms by radiation therapy, which help relieve the severity of the disease. However, radiation therapy have side effects also. The purpose of this study was to determine the persistence of symptom experience and quality of life in patients with advanced cancer receiving radiation therapy and examine the relationship between symptoms and quality of life. Eighty eight patients with advanced cancer receiving palliative radiation therapy were purposive selected for this study, completing surveys three times period before radiation therapy, after radiation therapy and one month after radiation therapy. Data were collected by using three questionnaires 1) Demographic Questionnaire was administered before radiation therapy 2) the Memorial Symptom Assessment Scale (MSAS) and 3) the Functional Assessment of Cancer Therapy-General Scale (FACT-G) were administered three times period. Descriptive statistics were used to describe the demographic data and the characteristics of symptoms and Friedman test was used to compare symptom frequency and severity in three time period. Spearman rank correlation was used to calculate the relationship between symptom experience and quality of life. The result revealed that the most common symptom report by top five prevalence symptom and frequency, severity follow by prevalence, A lack of energy was symptom reported to be the most prevalent follow by pain, difficulty sleeping, lack of appetite and dizziness. Pain was reported as the symptom to be most frequency and severity. From following caring and treatment we found overall symptom frequency were decrease over time, pain and dizziness frequency were significant decrease (p= .006, .004), But symptom severity were decrease some point, a lack of energy, pain, and dizziness were significant decrease (p = .012, .000, .048). Overall quality of life and each part were moderate to high level and physical well-being, emotional well-being, overall quality of life were significant increase (p= .000, .000, .001). Symptom experience was negatively correlated with overall quality of life (p < .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1224
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saengrawee Thanthong.pdf8.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.