Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1236
Title: | การออกแบบเครื่องสวมใส่เพื่อป้องกันร่างกายโดยใช้วัสดุธรรมชาติ |
Other Titles: | Protective wear from natural material |
Authors: | ร่มฉัตร พูลทรัพย์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | สุวิทย์ รัตนนันท์ |
Keywords: | การออกแบบ -- วิจัย;เครื่องแต่งกาย -- การการออกแบบ -- วิจัย;วัสดุ;ธรรมชาติ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเครื่องสวมใส่เพื่อป้องกันร่างกายโดยใช้วัสดุธรรมชาติในการลดอันตรายที่อาจะเกิดขึ้นขณะทำงาน โดยคำนึงถึงความแข็งแรงแต่ยืดหยุ่นได้ดี ไม่เกิดความอับชื้นขณะสวมใส่ นอกจากนี้ การนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุ และลดมลพิษที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดผลิตภัณฑ์สีเขียว หรือ Green product คือ การผลิตโดยกรรมวิธีธรรมชาติ ไม่มีสารพิษและสารเคมีเจือปน ทั้งนี้รวมถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซํ้า และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนโดยทำให้เกิดของเสียหรือการปล่อยมลพิษน้อยลง ในกระบวนการวิจัยได้ทดลองออกแบบควบคู่ไปกับการทดลองใช้งานจริงเพื่อหาแนวทางพัฒนาการออกแบบให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเครื่องสวมใส่เพื่อป้องกันร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนที่เป็นตัวเสื้อ 2. ส่วนที่รองรับบริเวณไหล่ ส่วนที่เป็นตัวเสื้อใช้ผักตบชวาตีทอเกลียวร่วมกับเส้นฝ้ายแล้วนำมาตัดเย็บเป็นตัวเสื้อในลักษณะเปิดไหล่ไว้ข้างหนึ่ง ส่วนที่รองรับบริเวณไหล่ใช้ยางในรถจักรยาน และยางในรถบรรทุกมาถักสานเพื่อทำหน้าที่รองรับนํ้าหนักจากการแบกหาม การนำทั้งสองส่วนมาใช้ร่วมกันมีความน่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้ทำงานแบกหาม สามารถลดอาการเจ็บปวดบริเวณไหล่ บ่า คอ ได้ ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้ทำงานแบกหามสามารถนำไปขยายผลต่อในการออกแบบเครื่องสวมใส่เพื่อป้องกันร่างกายต่อไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research focused on safety at workplaces such as industries and construction sites. The researcher found that there are many protective wear, based on international standards, for parts of the human body, like helmets, gloves, shoes, protective eyewear etc. but there were none available to protect a worker who needs to carry heavy loads on their shoulders over short distances. In order to make the final product inexpensive as well as meaningful to the worker; the design concept was to make an eco-friendly, easy to produce, with recyclable and easy to source local materials. Many prototypes were developed with various materials and tested with the actual user, the workers. The final version was tested and was found to be very comfortable to wear and also offered the right amount of protection for the workers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศล.ม. (การออกแบบ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การออกแบบ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1236 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Art-AD-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Romchat Poonsup.pdf | 12.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.