Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1243
Title: ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน
Other Titles: Problems and obstacles relating to The exercise of the right to intiate legislative process by the people
Authors: จิรัฏฐ์ ธนิกกุลพิพัฒน์
metadata.dc.contributor.advisor: สุรพล ศรีวิทยา
Keywords: กฎหมาย -- ไทย;พระราชบัญญัติ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 โดยผู้วิจัยได้มุ่งศึกษาประเด็นปัญหาอันเกิดจากบทบัญญัติในมาตรา 10 และมาตรา 11 เป็นสำคัญ บทบัญญัติดังกล่าวทั้งสองนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายในอนาคต และย่อมเป็นอุปสรรคต่อเจตนารมณ์ในการให้สิทธิในการเข้าชื่อกันเสนอกฎหมายโดยประชาชนได้ผลการวิจัยพบว่า บทบัญญัติในมาตรา 10 นั้นให้อำนาจแก่ประธานรัฐสภามากจนเกินสมควร กล่าวคือ ประธานรัฐสภามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในการพิจารณารับรองหรือไม่รับรองความสมบูรณ์ของเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นช่องทางในการประวิงเวลาของฝ่ายการเมืองได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีบทบัญญัติที่อนุญาตให้ผู้ริเริ่มหรือตัวแทนสามารถเข้าร่วมการพิจารณาเอกสารได้แต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากกรณีศึกษาของต่างประเทศ ที่การพิจารณานั้นเป็นของทั้งรัฐสภา และยังมีการเปิดโอกาสให้ผู้ริเริ่มหรือผู้แทนสามารถเข้าร่วมการพิจารณาได้อีกด้วย ส่วนบทบัญญัติมาตรา 11 นั้น เป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการตามมาตรา 10ซึ่งอาจส่งผลให้สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนไม่อาจบรรลุเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ได้ กล่าวคือ การที่มาตรา 11 ไม่ได้บัญญัติกรอบเวลาให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเสนอ อีกทั้งยังไม่มีบทบังคับว่าจะต้องพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ย่อมทำให้รัฐสภานั้นมีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาหรือเพิกเฉยต่อร่างพระราชบัญญัติที่เสนอเข้ามาได้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้นำเสนอถึงปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยประชาชนนั้นได้รับการพิจารณาไปตลอดจนถึงการประกาศใช้ตามสมควร อันเป็นเจตนารมณ์สูงสุดแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้
metadata.dc.description.other-abstract: This research is qualitative research (Qualitative Research), which means research papers(Documentary Research) by analyzing data from legal documents, academic journals, newspapers,Internet media. Using content analysis (Content Analysis) and analysis logic (Logical Analysis) methodology of qualitative research. Coupled with the research field (Field Research), by means of interviews. (In-depth Interview) to collect data from a sample population is a major contributor (Key Informants) who were randomly selected according to the purpose of the study was divided into two groups: (1) a group of people who had been involved. to sign the petition or initiative proposed legislation (2), who took part in the draft law. Then the data collected from the interviews was analyzed to check the methodology of qualitative research. This research aims to explore legal problems associated with the enforcement of the Initiative Process Act B.E. 2556. Emphasis is made on the issue of problems arising out of the enforcement of Section 10 and 11 as these two sections may lead to significant legal problems in the future and thus the burden against the intention to provide right to initiative process. Findings from the study suggest that the provision of Section 10 of the said Act provide too broad power to the Speaker of the Parliament, that is, the Speaker of the Parliament has the sole and absolute power to approve or not approve validity of documents submitted in initiative process. This can be a loophole for causing delay to the process by political sector. In addition, there is no such provision allowing the initiator or his representative to jointly consider those documents; which differs from some other jurisdictions to the extent that the documents review will be made by the entire parliament and the initiator or his representative is allowed to take part
Description: (วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1243
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirart Tanikkulpipart.pdf21.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.