Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1247
Title: บทบาทของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: The role of Paktaifocus newspaper for local political participation Ampher Hat Yai, Songkhla Province
Authors: ภูวสิษฎ์ สุขใส
metadata.dc.contributor.advisor: ฉัตรวรัญ องคสิงห์
Keywords: หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง “บทบาทของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ท้องถิ่นอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อ บทบาทของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น 2) ศึกษาอิทธิพลของ หนังสือพิมพ์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3) ศึกษาบทบาทของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัสต่อการ มีส่วนร่วมทางการเมือง วิธีการที่ใช้คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น “สมาชิก” หนังสือพิมพ์ภาคใต้ โฟกัส โดยเลือกแบบเจาะจง 400 คน และเลือกผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นผู้นำทางสังคม การเมือง ธุรกิจ นักวิชาการ และสื่อมวลชน สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบ t-test, F-test, One – way ANOVA, LSD และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อคำถามพบว่า อยู่ในระดับปานกลางในทุกข้อคำถาม 2) บทบาทของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น โดย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีบทบาทอยู่ในระดับปานกลางในทุก ด้าน โดย 1) ด้านการตรวจสอบมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรองลงมาตามลำดับจากมากไปน้อย คือ 2) ด้านการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ 3) ด้านการนำเสนอข่าวและความเคลื่อนไหว 4) ด้านความรู้ ความเข้าใจของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 5) ด้านการกระตุ้นและร่วมกิจกรรม ทางการเมืองในท้องถิ่น ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ด้านเพศ อายุ สถานภาพ ศาสนา และบทบาททาง สังคมและการเมืองท้องถิ่นแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น แตกต่างกัน ส่วนวุฒิการศึกษา รายได้ต่อเดือน และการไปใช้ สิทธิเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งล่าสุดแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของ หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน 2) บทบาทของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัสในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นมี ความสัมพันธ์กับอิทธิพลของหนังสือพิมพ์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า 1) เนื้อหาข่าว เป็นหัวใจหลักของหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส มีสาระชัดเจน เจาะลึก ใกล้ตัว น่าสนใจ การนำเสนอข่าว ข้อมูลถูกต้อง ทำให้เกิดความรู้ ได้ข้อเท็จจริง มากกว่าแหล่งข้อมูล อื่นๆ ข่าวเป็นกลาง ผู้อ่านยอมรับ น่าเชื่อถือ อ่านง่าย สังคมได้ประโยชน์ ข่าวสารไม่บิดเบือน เป็น กระบอกเสียงให้กับท้องถิ่น สร้างภูมิปัญญาให้ท้องถิ่น และเป็นฉบับเดียวที่ให้รายละเอียดเจาะลึกใน การพัฒนาท้องถิ่น 2) ทันเหตุการณ์ ได้รับทราบข้อมูลก่อนใคร เปิดประเด็นใหม่ สร้างวาระใหม่ๆ สม่ำเสมอ 3) ขอบข่ายเนื้อหา มีข่าวสารหลากหลาย ครอบคลุมพื้นที่ได้ดี เป็นที่ยอมรับจากผู้อ่านสูง 4) ประเด็นการนำเสนอ พาดหัวข่าวน่าสนใจ ชัดเจน มีจิตวิญญาณของสื่อมวลชนอิสระ มีประสบการณ์ และมีวิชาการ เนื้อหาข่าวมีประโยชน์ต่อท้องถิ่น มีเอกลักษณ์ ทำให้ประชาชนได้รับ ข่าวสารที่ถูกต้อง และ 5) คอลัมนิสต์-นักเขียน เป็นเวทีให้ผู้อ่าน มีบทความหลากหลาย เปิดโอกาสให้นักวิชาการ และนักเขียนหน้าใหม่ได้แสดงบทบาทถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study were (1) to study factor of people affected by The Role of PAKTAIFOCUS Newspaper for local poltical participation, (2) to study PAKTAIFOCUS Newspaper influence on local political participation and (3) to study role of PAKTAIFOCUS Newspaper on political participation. The populations of this study were 1,200 regularly readers PAKTAIFOCUS Newspaper. The sampling group and population for this research was the “member” of PAKTAIFOCUS Newspaper selected by random representative samples of 400 people. The researcher also selected 19 local leaders in politic, business, social, academic and journalist field for interviewing. The instruments used for data collecting were divided into two parts. There were questionnaires and interview. The statistical tools used for analysis were percentage, means, standard deviation, t-test (Independent type), One-Way ANOVA, LSD and Pearson Correlation Coefficient. The quantitative results of this research were as follows: 1) Newspaper has influence on political participation in overall average value in middle level and when considering from each factors, they all were shown in middle level. 2) PAKTAIFOCUS Newspaper’s Role on Local Politic in overall average value was in middle level and when considering from each factors, they all were shown in middle level. For checking factor had the highest average value than the other 4 factors; advertisement, presenting news and movement, people’s acknowledgement in political and stimulation and participation in local political activities, respectively. The conclusion of testing hypothesis is as follows: 1) PAKTAIFOCUS Newspaper’s background in differences of gender, age, marital status, religion, and social and local political role had significant differences in PAKTAIFOCUS Newspaper’s Role in participating in local politics. Educational background, income per month, and election for last Local Administration had no significant differences in PAKTAIFOCUS Newspaper’s Role in the participation of local political activities. 2) PAKTAIFOCUS Newspaper’s Role on local politic had relationship with Newspaper influencing on political participation. The results of the in-depth interviews indicated that : 1) Content is the heart of PAKTAIFOCUS Newspaper. It had the deep, interesting, and precise detail. Presenting news was correct and informative. And it also gave more knowledge to readers than any other sources. News without any distortion is neutral, easy-to-read, reliable and beneficial to the society. It can be the local broadcasting channel and promote the local economy. And it was the only one that provided in-depth detail about local development. 2) The newspaper can follow up current issues and create a new agenda. It was also the most updated one. 3) Scope of the news was various covering all field of information. It is highly accepted by readers. 4) For the issues presented, the headlines were interesting and precise. The news presenters were spirited, experienced, and academic. The news was also beneficial to the local. It was unique and gave the correct information to people. 5) Columnists or writers were the channel for reader to the diversity. It was also open to academicians and newcomer writers to pass on their knowledge to the society.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1247
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PHUWASIS SOOKSAI.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.