Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1248
Title: การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
Other Titles: The Improvement of Thai aviation industry for ASEAN community
Authors: วีระยุทธ ดิษยะศริน, น.อ.
metadata.dc.contributor.advisor: รัตพงษ์ สอนสุขภาพ
Keywords: ประชาคมอาเซียน -- อุตสาหกรรมการบิน -- วิจัย;อุตสาหกรรมการบิน -- วิจัย;คมนาคมทางอากาศ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินเพื่อเตรียมความ พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ดำเนินการวิจัยโดยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการ สัมภาษณ์ (In-depth interview) จากข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยได้วิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามประเด็นเนื้อหาที่ศึกษา รวมทั้งได้ตีความข้อมูลแบ่งแยก เป็นกลุ่มตามเนื้อหาในแต่ละประเด็น เพื่อคัดสรรข้อมูลที่ต้องการ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยแสดงใน รูปของการบรรยายพรรณนาความ ผลการศึกษา พบว่า ประการแรก ประเทศไทยเป็นสมาชิกของภาคีอาเซียน และในปี พ.ศ.2558 ก็จะกลายเป็น ประชาคมอาเซียน สำหรับความร่วมมือทางด้านการบินนั้นได้มีความตกลงร่วมกันเป็นตลาดการบิน เดียวกัน (ASEAN Single Aviation Market : ASAM) โดยประเทศไทยได้รับมอบหมายจากประเทศ สมาชิกให้เป็นเจ้าภาพในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การบริหารจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management : ATM) รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบ ในการดำเนินการขับเคลื่อนนำไปสู่เป้าหมายตามข้อตกลงภายในปี พ.ศ.2558 อย่างไรก็ตาม ปัญหา และอุปสรรคจากการเปิดเสรีการบินระหว่างกัน คือ กฎหมายการแข่งขันทางการค้าจะเป็นอุปสรรค ต่อความสำเร็จในความตกลงการเปิดเสรีการบินระหว่างประเทศภายในกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยตรง ประการที่สอง วิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาก้าวสู่อุตสาหกรรมการบินชั้นนำ ในระดับ มาตรฐานสากลในภูมิภาคอาเซียน ควรดำเนินการเร่งรัดวางแผนงานตามแนวทาง 4 ประการ คือ 1) เร่งรัดการสร้างท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิระยะที่ 2 เพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมการบิน 2) จัดทำแผนการดำเนินการส่งเสริมอุตสาหกรรมบำรุงอากาศยานจากทุกภาคส่วนร่วมกัน โดยจัดทำ เป็นโรดแมปดำเนินการ 3) สนับสนุนและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์อันดีกับบริษัทผู้ผลิตอากาศ ยานรายใหญ่ของโลก 4) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการบิน และด้านซ่อมบำรุงอากาศยาน โดย เร่งพัฒนาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ประการที่สาม ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินเพื่อเตรียมความพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียน จากการศึกษา พบว่า ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศ เหล่านี้ ได้พัฒนาไปไกลกว่าประเทศไทยมาก ปัจจุบันทั้ง 3 ประเทศ ได้เริ่มผลิตอากาศยาน ชิ้นส่วน อากาศยาน และการประกอบอากาศยานขั้นสุดท้ายในประเทศมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี ทำให้มีความน่าเชื่อถือต่อต่างประเทศสูง หากประเทศไทยจะพัฒนาอุตสาหกรรมการบินให้ก้าวหน้า ประเทศไทยจะต้องเร่งสร้างความน่าเชื่อถือ และแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม การบินอย่างเป็นระบบ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน ให้ชัดเจนในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) ผู้บริหารองค์กรที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อกำหนด แนวทางหรือวิธีการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการบินของประเทศให้เกิดประสิทธิภาพ 3) ศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้จากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา อุตสาหกรรมการบินมาแล้ว
metadata.dc.description.other-abstract: The objective of this research is to study the Improvement of Thai Aviation Industry for ASEAN Community. The methodology used in this research is considered a documentary study. The data were drawn from primary and secondary sources and analyzed by content analysis. The study found that: Firstly, Thailand is a member of the party in ASEAN and the 2020 will become the ASEAN Community. For cooperation in the field of aviation, there was agreement together is the ASEAN aviation market Single Aviation Market ( ASAM) by Thailand assigned from ASEAN countries prepare in Air Traffic Management (ATM) with the Ministry of Transportation is the lead agency responsible for the following terms of powered led to the target. ASAM the 2020 however problems and obstacles of the liberalization of the flight between. Competition law is one of the factors that hinder the success of the liberalization of international aviation within the ASEAN community directly. Secondly, the vision to develop pace to the aviation industry in the international leading level in the region cooperation. Accelerate the planning should be performed according to the guidelines 4 factors is 1) To accelerate the Suvarnabhumi Airport stage 2 in order to support the aviation industry 2) Plan for conducting the aircraft maintenance industry from all sectors involved, by making a roadmap process 3) Support and network building a good relationship with the world's largest aircraft production line 4) To promote development in aviation. The maintenance of aircraft accelerate development by both in quantity and quality. Thirdly, the problems and obstacles in the development of the aviation industry to prepare for the ASEAN Community, if the government will develop from the aviation industry to progress, it was found that the neighboring countries such as Singapore, Malaysia and Indonesia. These countries have developed beyond the country. At present the 3 countries started producing an aircraft parts more than 10 years. If that Thailand will embark in those countries, it was found that reliability will be obstacles to the development of aviation industry. Policy recommendations. 1) The government and related departments should set up guidelines for the improvement of the aviation industry to be the direction which is prepared into an ASEAN Community. 2) Enterprise managers involved should experience working together systematically. The guidelines for how to manage/aviation industry effectively. 3) Lesson for experience from successful countries in developing the aviation industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1248
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
GROUP CAPTAIN VEERAYUTH DIDYASARIN.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.