Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1252
Title: เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็น Metabolic Syndrome ที่มีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพดีและไม่ดี
Other Titles: Comparison of health promoting behaviors in persons with metabolic syndrome regarding positive and negative outcomes
Authors: สกุณา อาจสมัย
metadata.dc.contributor.advisor: อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: โรคอ้วนลงพุง;โรคอ้วน -- การป้องกันและรักษา;โรคอ้วน -- ไทย -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็น Metabolic Syndrome ระหว่างกลุ่มที่มีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพดีและไม่ดี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เป็นที่รับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวป่า ที่มีภาวะ Metabolic Syndrome จำนวน 49 คน ซึ่งได้รับการดูแลและให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 1 ปี แบ่งเป็นกลุ่มที่มีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพดีจำนวน 12 คน และผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพไม่ดีจำนวน 37 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยตามกรอบแนวคิดของเพนเดอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Independent t-test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้เป็น Metabolic Syndrome ที่มีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพดีและไม่ดี มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมระหว่างกลุ่มผู้เป็น Metabolic Syndrome ที่มีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพดีและไม่ดี ไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่าพฤติกรรมด้านออกกำลังกายของกลุ่มที่มีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพดีและไม่ดีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .023)
metadata.dc.description.other-abstract: This descriptive research aimed to investigate health promoting behaviors of persons with metabolic syndrome between those with positive and negative health outcomes. A purposive sample of 49 persons with metabolic syndrome who regularly visited at Diabetes and Hypertension Clinic, Health Promoting Hospital, Huapa District was recruited for this study. The participants received the health promoting behaviors program for 1 year. It was found that 12 persons had positive health outcomes and 37 persons had negative health outcomes. The health promoting behaviors interview and personal information sheet were used to collect data. Descriptive statistics, independent t-test and Mann-whitney U test were used to analyze data. The finding showed that health promoting behaviors of persons with positive and negative outcomes were at a good level and was not significantly different. Regarding 6 aspects of health promoting behaviors, exercise was significantly different between the 2 groups (p= .023)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1252
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakuna Ardsamai.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.