Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1262
Title: การศึกษาประสิทธิผลสมุนไพรย่านางแดงต่อระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดี
Other Titles: The effect of bauhinia strychnifolia craib on blood alcohol level of driniing healty volunteers
Authors: นวพร เหลืองทอง
metadata.dc.contributor.advisor: สุรพจน์ วงศ์ใหญ่, วีระสิงห์ เมืองมั่น
Keywords: การแพทย์แผนไทย -- วิจัย;พืชสมุนไพร -- วิจัย;ย่านางแดง(พืช) -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาทางคลินิกครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดลองทางคลินิกเปรียบเทียบประสิทธิผลในการลดระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดของสมุนไพรย่านางแดง (Bauhinia strychnifolia Craib) ที่ทำอยู่ในรูปตำรับยาผงฟองฟู่ในกลุ่มอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาสาสมัครจำนวน 59 คน มีอายุเฉลี่ย 29.5±19.1 ปี ถูกแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ 20-30 ปี จำนวน 43 คน และ 31-45 ปี จำนวน 16 คน โดยช่วงอายุ 20-30 ปี แบ่งกลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มยาหลอก 15 คน สำหรับช่วงอายุ 31-45 ปี แบ่งกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มยาหลอก 8 คนอาสาสมัครทุกคนได้รับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาตร 120 มล. ที่มีส่วนประกอบเป็นเอทีลแอลกอฮอล์ 42 มล. แล้วจึงวัดระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดด้วยเครื่องตรวจวัดชนิดเป่าลมได้เท่ากับ 41.88±19.14 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จากนั้นจึงให้อาสาสมัครกลุ่มทดลองได้รับยาฟองฟู่ย่านางแดง 1 ซอง ที่ประกอบด้วยสารสกัดย่านางแดงเข้มข้นอัตราส่วนการสกัดเป็น 11.9 : 1 จำนวน 1.3 กรัม และกลุ่มยาหลอกได้รับผงฟองฟู่ที่ปราศจากย่านางแดง 1 ซอง แล้วทำการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทั้งก่อนรับประทานและหลังรับประทานทุกๆ 15 นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง พร้อมกับมีการใช้แบบสอบถามประเมินผลร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอาสาสมัครช่วงอายุ 20-30 ปี พบระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) หลังรับประทานยาเมื่อเปรียบเทียบกับกับกลุ่มยาหลอกตั้งแต่เวลา 45 นาที เป็นต้นไป กล่าวคือระดับตํ่ากว่าคิดเป็น 25.50 และ 46.79 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 45 และ 120 นาที ตามลำดับ โดยพบปริมาณเฉลี่ยเป็น 39.75 และ 21.78 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามลำดับและสอดคล้องกับการประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่อาสาสมัครมีอาการดีขึ้นและหายเมาเมื่อเปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก สำหรับกลุ่มอาสาสมัครช่วงอายุ 31-45 ปี ผลทดสอบปรากฏว่าระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดในกลุ่มทดลองตํ่ากว่ากลุ่มยาหลอกแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ตลอดช่วงเวลาของการศึกษา ผลที่ได้ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าวัยที่อายุน้อยกว่าร่างกายมีประสิทธิภาพทำลายแอลกอฮอล์โดยตับที่ดีกว่าวัยที่อายุมากกว่า จากการศึกษาผลข้างเคียงโดยการสัมภาษณ์ก็ไม่พบอาการข้างเคียงแต่อย่างใด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสมุนไพรย่านางแดงที่ทำในรูปแบบยาฟองฟู่มีประสิทธิผลในการลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีช่วงอายุ 20-30 ปี ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่พบอาการข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นอันตราย สมควรนำไปศึกษาทดลองทางคลินิกในจำนวนอาสาสมัครที่มากขึ้นและมีศักยภาพสูงเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้านแอลกอฮอล์ต่อไป
metadata.dc.description.other-abstract: The study was conducted on clinical study to test the effects of Bauhinia strychnifolia Craib extract on blood alcohol level of drinking healthy volunteers. Paricipants in this trial were 59 men (mean age = 29.5±19.1 years, age 20 – 45 years old) devided in two ranges of age, 20 to 30 and 31 to 45 years old, with numbers of treatment/placebo in each group were 28/15 and 8/8 respectively. All volunteers were received 120 ml of alcoholic drink contained ethanol 42 ml once and blood alcohol concentration was measured by using breath alcohol analyzer 15 minutes later and the average concentration was found to be 41.88±19.14 mg%. Participants took 1 sachet of herbal effervescent powder, contained 1.3 g of Bauhinia strychnifolia Craib extract with extraction ratio of 11.9:1, or placebo, effervescent powder without the herbal extract. Blood alcohol concentration was continuously measured every 15 minutes for two hours and the participants were requested to answer questionaire about health check during study. The results showed statistically significant differences (p<0.05) in blood alcohol concentration between the treatment group and the placebo group only in the age 20-30 years old meanwhile there were statistically insignificant in the age 31-45 years old. Bauhinia strychnifolia Craib extract can decrease blood alcohol concentration significantly compared to placebo from 45 to 120 minutes with 25.50 and 46.79% reduction to be the concentration of 39.75 and 21.78 mg%, respectively. It appeared that the age group 20-30 years old cleared alcohol as much higher elimination rate than the group 31-45 years old and this is may be the rate of hepatic functioning in younger group is much better. Side effects were monitor during the study by interviews. The results showed no adverse side effects were found significantly (p<0.05) and interviews with patients also showed that no adverse side effects found. In general, the studied herbal preparation is considered to be effective and safe. Further randomised, double blind, placebo, controlled trials are needed before such herbal treatments can be confidently recommended for anti-alcohol. The study shall be conducted by increasing the number of volunteers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาิวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การแพทย์แผนตะวันออก
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1262
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ort-OM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Navaporn Lueangthong.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.