Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1264
Title: รูปแบบการอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรน้ำ : ศึกษากรณีพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำยม
Other Titles: Networking governance in water resources management : case study of Yom river basin region
Authors: ภัทร ชมภูมิ่ง
metadata.dc.contributor.advisor: สมบูรณ์ สุขสำราญ, วรรณนภา วามานนท์
Keywords: น้ำ -- การจัดการ;ลุ่มน้ำยม -- วิจัย;องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น -- ไทย -- วิจัย;การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้า: ศึกษากรณีพื้นที่ภูมิภาคลุ่มนํ้ายม” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษารูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้าตลอดจนการควบคุมดูแล การสั่งการ และความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ภูมิภาคลุ่มนํ้ายม (2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและการแก้ไขปัญหารูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้าพื้นที่ภูมิภาคลุ่มนํ้ายม และ (3) ข้อเสนอแนวทางเชิงนโยบายรูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้าพื้นที่ภูมิภาคลุ่มนํ้ายม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบศึกษากรณี (case study) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้รับผิดชอบหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงของรัฐบาล กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interviews) การสังเกตการณ์แบบเป็นระบบ (systematic observation) การสนทนากลุ่ม (focus group discussion) และ เอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรนํ้า (documentary data) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (analyzing qualitative data) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า รูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้าตลอดจนการควบคุมดูแล การสั่งการ และความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ภูมิภาคลุ่มนํ้ายม (1) การจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายต่างๆ ในการจัดการทรัพยากรนํ้าลุ่มนํ้ายมมีกลุ่มเครือข่ายที่ชัดเจน 3 กลุ่มเครือข่าย คือ (1.1) กลุ่มเครือข่ายลุ่มนํ้ายมตอนบน อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา (1.2) กลุ่มเครือข่ายลุ่มนํ้ายมตอนบน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และ (1.3) กลุ่มเครือข่ายอนุกรรมการลุ่ม นํ้ายม ประกอบด้วย จังหวัดพะเยา แพร่ พิจิตร และสุโขทัย (2) การจัดรูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้าลุ่มนํ้ายม ซึ่งพบรูปแบบอภิบาล 4 รูปแบบ คือ (2.1) รูปแบบอภิบาลการมีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์ในการกำหนดนโยบาย (participatory governance/interactive policymaking) (2.2) รูปแบบอภิบาลตัวกลาง (nodal governance) (2.3) รูปแบบอภิบาลชุมชน (community governance) และ (2.4) รูปแบบอภิบาลปรับตัว (adaptive governance) (3) การจัดการเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้าไม่มีโครงสร้างของการจัดตั้งกลุ่มที่ชัดเจนเครือข่ายได้ใช้เพียงความสัมพันธ์ลักษณะแนวระนาบในการทำงานร่วมกันและไม่เน้นการกำหนดบทบาทหน้าที่ตายตัวหรือมีข้อผูกมัดในการทำหน้าที่เน้นความถนัดและความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน การสื่อสารและการประสานงานเน้นการดำเนินการแบบไม่เป็นทางการ (4) การจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้าลุ่มนํ้ายมมีเหตุผลหลัก (4.1) เพื่อจัดสรรนํ้าไว้ใช้สำหรับอุปโภคและบริโภค (4.2) เพื่อการจัดการแก้ไขปัญหาช่วงฤดูนํ้าหลาก (ฤดูฝน) และ (4.3) เพื่อการรวมอำนาจเชิงพลังมวลชนของชาวบ้าน และ 5) รูปแบบอภิบาลในการจัดการเครือข่ายแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรนํ้าได้แต่ไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากสถานการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภูมิภาคลุ่มนํ้ายมเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้น 2 ช่วงฤดูกาล คือ ช่วงฤดูนํ้าหลาก (ฤดูฝน) และช่วงฤดูนํ้าแล้งปัญหาอุปสรรคและการแก้ไขปัญหารูปแบบอภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรนํ้าพื้นที่ภูมิภาคลุ่มนํ้ายม ได้แก่ (1) การขาดอำนาจหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรนํ้าได้อย่างเป็นระบบและรูปแบบที่ควบคุม สั่งการดูแลสิทธิในการดูแลรักษา การใช้นํ้า และการเข้าถึงนํ้าของกลุ่มคนต่างๆ อย่างเป็นธรรม (2) ระบบการจัดสรรนํ้าแบบองค์การเหมืองฝายตามประเพณีดั้งเดิม รวมทั้งปัญหาความตกตํ่าลงขององค์การเหมืองฝายในหมู่บ้านเองไม่สามารถควบคุมดูแลการใช้นํ้า และเข้าถึงนํ้าได้อย่างเดิมตลอดจนกรอบในการจัดการในทางกฎหมายที่สนับสนุนสิทธิในการใช้นํ้าการเข้าถึงนํ้าสำหรับปัจเจกจนทำให้เกิดผู้ที่เสียเปรียบและได้เปรียบในการจัดสรรนํ้าขึ้น ทั้งนี้เพราะถูกกำหนดโดยผู้ที่มีอำนาจ (3) ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมายาวนานต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานเนื่องจากชาวบ้านในชุมชน (ในฐานะคนในพื้นที่) ภาครัฐ (ในฐานะคนนอกพื้นที่) และชาวบ้านลุ่มนํ้ายมตอนล่างมีความขัดแย้งเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดการทรัพยากรนํ้าลุ่มนํ้ายมที่มีความต้องการของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ที่แตกต่างกันจนเกิดเป็นข้อขัดแย้งที่ต่อสู้มาเป็นระยะเวลายาวนานเกี่ยวกับประเด็นการเสนองบประมาณสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และ (4) การเปลี่ยนแปลงของอำนาจในการจัดการทรัพยากรนํ้า ทำให้ชุมชนรู้สึกต่อการสูญเสียอำนาจ ดังนั้นจึงเกิดการต่อต้านกับการจัดการทรัพยากรนํ้าที่เปลี่ยนแปลงไป และในขณะเดียวกันชุมชนก็ยิ่งถูกลดทอนอำนาจในการต่อรองกับภาครัฐ
metadata.dc.description.other-abstract: The primary objectives of this study are (1) to study networking governance in water resource management, as well as supervision authorities and linkage connection between individuals (e.g., flood - impacted individuals, drought - impacted individuals) and responsible public sectors (i.e., Department of Disaster Prevention and Mitigation, Royal Irrigation Department) of Yom river basin region. (2) to study problems, obstacles and resolutions to improve these criteria of networking governance in water resource management of Yom river basin region and (3) to propose a policy formulation of networking governance in water resource management of Yom river basin region. This study is designed by using qualitative research method for case study category. The researcher has divided the sampling groups into 3 categories (i.e., responsible public sectors, impacted individuals, stakeholders). The research instruments of this study are qualitative interviews and systematic observation. After data has been collected, content analysis is being used to arrange the database. As a result of research indicates; 1) Study of networking governance in water resource management, as well as supervision authorities and linkage connection between individuals (e.g., flood - impacted individuals, drought - impacted individuals) and responsible public sectors (i.e., Department of Disaster Prevention and Mitigation, Royal Irrigation Department) of Yom river basin region found that; 1.1.) informal and formal networking groups have been formulated in water resource management of Yom river basin region. The most significant noticeable networks are 1) The Upper Yom River Basin Network (e.g., Pong district and Chiangmuen district of Payao province, Sa-Eab community, Song district of Phrae province), and 2) The Yom River Basin Sub-Committee whose members are from province of Payao, Phrae, Pichit and Sukhothai. 1.2.) The formulation of networking governance in water resource management of Yom river basin region of the network groups found that there are 4 types of networking governance which are 1) participatory governance / interactive policymaking, 2) nodal governance, 3) community governance, and 4) adaptive governance. 1.3) Networking governance in water resource management of the network groups has unclarified structure. Though, the networks are using flat organization to cooperate their works. These networks have no official authority to their roles of action but they committed to work as a part of their communities asset to put their skills and expertise in order to communicate and cooperate unofficially. 1.4) The formulation of networking governance in water resource management of Yom river basin region has its main purpose as to 1) water allocation for use and consumption, 2) manage and resolve problems during mid-season drainage, and 3) centralized crowd sourcing based on community's potential in order to negotiate with government sectors. 1.5) Networking governance in water resource management of the network groups has lack of power and authorities to solve problems during the drainage and drought periods. 2) Study of problems, obstacles and resolutions to improve these criteria of networking governance in water resource management of the network groups, Yom river basin region found that; 2.1) lack of systematic and controlling power/authorities in water resource management in order to supervision rights and public asset of using water. 2.2) the traditional water allocation system along with the fall of community’s weir organization brought to supervision rights and public asset of using water. Also the legal management that support rights and public asset of using water for individuals creates gaps that make the advantage and disadvantage among stakeholders in water allocation system. 2.3) conflicts of people in communities (as locals), government sectors (as outsiders) and the lower Yom river basin communities concerning the differences of their needs is a mega problem issue for more than a decade, especially Kaeng Sua Ten Dam case. 2.4) the instability of power/authority in water resource management of Yom river basin areas decreased people trust. With anxiety of losing their control to management the resistance among people versus government occurred. This also causes the network groups to decrease their power to bargain with the state
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1264
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattara Chompooming.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.