Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1275
Title: | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามผู้บริหารสหกรณ์ยักยอกและฉ้อโกง |
Other Titles: | Legal Measures of the Prevention and Suppression in Misapporiation and Fraud by Cooperative Executives |
Authors: | ศิลาพร ไชสวัสดิ์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ญาดา กาศยปนันทน์ |
Keywords: | กฎหมายอาญา -- ความผิดฐานฉ้อโกง;กฎหมายแรงงาน |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับสหกรณ์ และปัญหา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสหกรณ์ เพื่อหามาตรการทางกฎหมายในการเหยียวยาแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 โดยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกรณีที่ผู้บริหารสหกรณ์ กระทําการ ยักยอก ฉ้อโกง ประชาชนเพื่อที่จะกําหนดบทลงโทษทางกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การ วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research และปัญหาข้อเท็จจริง โดยใช้วิธีการวิจัย เอกสาร (Documentary Research) และวิจัยภาคสนาม (Field Research) ผลของการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสหกรณ์กระทําความผิดฐานยักยอกและฉ้อโกง บทกําหนด โทษการกระทําความผิดมีบทลงโทษที่น้อย โดยที่พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มีการกําหนด โทษไว้ในหมวด 10ตั้งแต่มาตรา 129ถึง 133 ซึ่งโทษของการกระทําความผิดน้อย เมื่อเทียบเท่า พระราชบัญญัติสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีบทลงโทษผู้บริหารของสถาบันการเงิน ตลอดจนถ้า กระทําความผิด โดยเฉพาะการทุจริตมีบทลงโทษร้ายแรง โดยระบุไว้ในหมวด 8ตั้งแต่มาตรา 121 ถึง มาตรา156 ดังนั้นถ้าสหกรณ์เป็นองค์กรที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจนต้องมีการกําหนดให้มีการ กระทําความผิดของผู้บริหารสหกรณ์เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาที่หนักขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ สหกรณ์ของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเยอรมันและประเทศแคนาดา ควรจะต้องมีการ พัฒนาปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามผู้บริการสหกรณ์ยักยอก และฉ้อโกงให้มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตลอดจนยังต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับ บทลงโทษของผู้บริหารสหกรณ์ในฐานความผิดยักยอกและฉ้อโกงภายในสหกรณ์เพราะว่า บทลงโทษของผู้บริหารสหกรณ์ในการกระทําความผิดนั้นบทลงโทษยังมีขีดจํากัดในกระทํา ความผิด และได้มีการวิเคราะห์ถึงปัญหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นภายในสหกรณ์ที่ผู้บริหารสหกรณ์กระทําความผิดนั้นยังต้องหามาตรการทางกฎหมาย เพื่อที่จะ เหยียวยาแก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะว่าพระราชบัญญัติสหกรณ์นั้นได้การ ประกาศใช้มานาน ทั้งยังสามารถนําหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสหกรณ์มาประยุกต์ในพระ ราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ให้เกิดผลมากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการแก้ไขบทลงโทษผู้บริหาร สหกรณ์ และ บทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาปรับปรุงมาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามผู้บริหารสหกรณ์ยักยอกและฉ้อโกงเกี่ยวกับบทลงโทษให้หนัก มากยิ่งขึ้น |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research study's objective is to study about the theories of cooperative and facts about cooperatives for legislative measures to improve the Cooperative Act B.E. 2542. The problems regarding the cooperative actions on misappropriation were analyzed in order to determine whether the legal penalties were effective or not. This study is a qualitative research study that utilized the documentary research field research study. The results show that the guilty of embezzlement and fraud management cooperative had too few penalties than that is in the Cooperative Act B.E. 2542 the Category 10 from Sections 129 to 133. This had few penalties as compared with the Financial Institutions Act 2551. The penalties of financial executives institute were written for the Category 8 from Section 121 to 156. The cooperative was an honest organization with more serious penalties for the managers who offended as compared with other countrys' laws. Especially in Germany and Canada, the effectiveness should be improved because of this. The penalties of the cooperative in the case of guilty of embezzlement and fraud management cooperative were considered because the penalties of the cooperative were limited for acting of embezzlement and fraud management cooperative and also analyzed for maintenance and adjustment purposes due to the Cooperative Act B.E. 2542, which has been effective for a long time. Moreover, the principle and theory in accordance with the 'cooperative could be applied to the cooperative act 2542 in order to improve the effectiveness. Research articles proposed the guidelines and measures for correcting the administrative penalties cooperative and the provisions of the other laws in order to improve legal measures for preventing the offending managers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.(นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1275 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law-Law-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siraporn Chaisawat.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.