Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1281
Title: การยอมรับกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001 เพื่อการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: ISO/IEC 27001 adoption for management information system security of private universities in Bangkok and its surroundings
Authors: วีระวัฒน์ จิรัญดร
metadata.dc.contributor.advisor: วศิณ ชูประยูร
Keywords: ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ -- วิจัย;ไอโซ -- วิจัย;ไออีซี27001 -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001 เพื่อการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 57 คน จากมหาวิทยาลัย 19 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้รับแบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 80.70 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการยอมรับกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.92,0.33) การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก (4.11, 0.47) ความง่ายต่อการใช้อยู่ในระดับปานกลาง (3.41, 0.45) ทัศนคติที่มีต่อการใช้อยู่ในระดับมาก (4.07, 0.31) และความตั้งใจที่จะใช้อยู่ในระดับมาก (3.96, 0.426) จากการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติอ้างอิง Multiple Regression พบว่ามีปัจจัยทั้งสิ้น 38 ปัจจัย คือ กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับการรับรู้ประโยชน์กรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001 จำนวน 10 ปัจจัย กลุ่มปัจจัยความง่ายต่อการใช้กรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001 จำนวน 7 ปัจจัย กลุ่มปัจจัยทัศนคติที่มีต่อการใช้กรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001 จำนวน 10 ปัจจัย และกลุ่มปัจจัยความตั้งใจที่จะใช้กรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001 จำนวน 11 ปัจจัย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลระดับสูงมากต่อการยอมรับกรอบมาตรฐาน ISO/IEC 27001 เมื่อพยากรณ์โดยเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม (R2 = .920), ระดับการศึกษา (R2 = .782), ตำแหน่งงาน (R2 = .865), ระยะเวลาการทำงานในองค์กร (R2 = .883) และการรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 (R2 = .947) ได้สมการแสดงระดับอิทธิพลจำนวน 5 สมการ
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study are to 1) study ISO/IEC 27001 adoption and 2) determine factors which influence the adoption of ISO/IEC 27001 of Private University in Bangkok and its surroundings. Technology Acceptance Model (TAM) is applied as a framework for the study. The samples are 57 peoples of Information Systems of 19 Private University in Bangkok and its Vicinity. Questionnaires were returned 80.70%. The results indicate that the acceptance of ISO/IEC 27001 and determine the factors that affect acceptance of ISO/IEC 27001 showed high level in overall (3.92, 0.33). From data analysis, the level of the perceived usefulness of ISO/IEC 27001 at high level (4.11, 0.471), the perceived ease of use of ISO/IEC 27001 at medium level (3.41, 0.45), the attitude toward using of ISO/IEC 27001 at high level (4.07, 0.31) and the behavioral intentions of ISO/IEC 27001 at high level (3.96, 0.42). Hypothesis testing with Multiple Regression Analysis showed 38 factors (10 factors of the perceived usefulness of ISO/IEC 27001, 7 factors of the perceived ease of use of ISO/IEC 27001, 10 factors of the attitude toward using of ISO/IEC 27001 and 11 factors of the behavioral intentions of ISO/IEC 27001found to be very high-level factors that influence acceptance of ISO/IEC 27001 as predicted by the gender (R2 = .920), education level (R2 = .782), jobs (R2 = .865), length of time working in the organization (R2 = .883), and knowledge of ISO / IEC 27001 (R2 = .947). Show the influence of five equations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1281
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:ICT-ITM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WEERAWAT GIRUNDON.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.