Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1287
Title: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดในหญิงที่เป็นเบาหวานจากการตั้งครรภ์ |
Other Titles: | Effects of self management enhancing program on health behavious and blood glucose in women with gestational diabetes mellitus |
Authors: | อังคณา ชูชื่น |
metadata.dc.contributor.advisor: | น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, วารินทร์ บินโฮเซ็น |
Keywords: | เบาหวาน -- ในหญิงมีครรภ์;ครรภ์ -- ภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์ -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อน-หลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ําตาลเลือดและในหญิงที่เป็น เบาหวานจากการตั้งครรภ์ โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์และเกลด บายส์ เป็นกรอบ แนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นหญิงที่เป็นเบาหวานจากการตั้งครรภ์ ชนิดเอวัน จํานวน 62 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามมาตรฐาน กลุ่มละ 31 คน เก็บข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรม สุขภาพ และระดับน้ําตาลในเลือด ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงบรรยาย Paired t-test, Independent t-test, Wilcoxon signed rank test และ Mann Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรม 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรม สุขภาพดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p = .000 และควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดได้มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือพยาบาล ในแผนกฝากครรภ์ควรนําโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองมาใช้ร่วมกับการดูแลตามมาตรฐาน เพื่อช่วยให้หญิงที่เป็นเบาหวานจากการตั้งครรภ์จัดการตนเองได้ดีขึ้น |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of this quasi-experimental study was to examine the effects of the self management enhancing program on health behaviors and blood glucose control in women with gestational diabetes mellitus class Al. Kanfer and Gaelic-Buys's Self management concept was used as a framework of this study. Sixty-two women with GDM were purposively recruited and assigned into the experimental and comparison groups. The experimental group received the self management enhancing program whereas the control group received the standard care at ANC. Personal data, health behaviors and blood glucose level were collected before and 6 weeks after the program. Descriptive statistics, paired t-test, independent t-test, Wilcoxon signed rank test and Mann Whitney U test were used to analyzed the data. The findings revealed that after 6 week of the program, the experimental group showed statistically significant higher health behavior scores than before the program and those of the comparison group at p=.000 and could control blood glucose more than the comparison group. Suggestion from the study is the nurses at ANC should integrate the self-management enhancing program with standard care to help women with gestational diabetes mellitus manage their health behaviors |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1287 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Angkana ChuChuen.pdf | 6.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.