Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1290
Title: ความสามารถของผู้ดูแลและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะของผู้หญิงที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ผู้ดูแล
Other Titles: Dependent care agency and incidence of urinary tract infection in women with stroke recieving educative supportive program for caregivers
Authors: วัฒนาศิลป์ แปงพังงา
metadata.dc.contributor.advisor: วารินทร์ บินโฮเซ็น, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: ทางเดินปัสสาวะ -- การติดเชื้อ -- วิจัย;หลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย -- การจัดการดูแล -- วิจัย;หลอดเลือดสมอง -- โรค
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเชิงทดลองแบบหนึ่งกลุ่มศึกษาติดตามไปข้างหน้านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของผู้ดูแลและอัตราการเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะของผู้หญิงที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มประกอบด้วยผู้หญิงที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 30 คน ได้รับโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ที่พัฒนามาจากทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มเป็นเวลา 3 วัน และติดตามหลังจำหน่ายกลับบ้าน 1 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบ ถามความรู้ และการปฏิบัติการดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะของผู้ดูแล และแบบบันทึกอัตราการเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้หญิงที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย และ Repeated Measures ANOVA ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความสามารถของผู้ดูแลที่ประเมินจากความรู้ในการปฏิบัติกิจกรรมหลังได้รับโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) การปฏิบัติกิจกรมเพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อพบว่ามีการปฏิบัติเพิ่มขึ้นทุกข้อ และพบอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ1 คนคิดเป็นร้อยละ 11.1 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยควรนำโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ไปพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลผู้หญิงที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะต่อไป
metadata.dc.description.other-abstract: This prospective intervention study aimed to compare the dependent care agency of caregiver and incidence of urinary tract infection in women with stroke after receiving educative supportive program for caregiver. The samples of 30 women with stroke and caregivers were purposively recruited for this study. Educative supportive of Orem’s theory was used as a conceptual framework for the development and implementation of the program. Caregivers received the program for 3 days during the women with stroke admitted in the medical female ward at Nopparatratchathanee hospital. The data were collected for three certain points of time i.e. before the program, prior discharge, and one month after discharge. Descriptive statistics, Repeated Measures ANOVA were used in data analysis. The findings showed that the scores on capabilities of caregivers according to knowledge were significantly higher than that of prior the program (p=.000). The practice of urinary tract infection was increased. The incidence of urinary tract infection among women with stroke found in one month after discharge was 11.1%. It is suggested the benefit of this program to prevent urinary tract infection among women with stroke in regards with caregivers capabilities
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1290
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WATTANASIN PANGPUNGNGA.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.