Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1296
Title: | การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง |
Other Titles: | Social support and quality of life in patients with end stage renal disease receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis |
Authors: | วิรัตน์ ศรีทองแท้ |
metadata.dc.contributor.advisor: | วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์, อำภาพร นามวงศ์พรหม |
Keywords: | ไตวายเรื้อรัง -- การรักษา -- วิจัย;ไต -- โรค -- การรักษา -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ที่มารับการรักษา ติดตามที่คลินิกล้างไตทางช่องท้อง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี เลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ จำนวน 106 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคมที่พัฒนาโดย เพชรรัตน์ บุตะเขียว (2537) ซึ่งสร้างตามกรอบแนวคิดของ House และแบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตโดย ใช้ SF - 36 V2 แปลเป็นภาษาไทยโดย Methakanjanasak หาความเชื่อมั่นของแบบสัมภาษณ์การ สนับสนุนทางสังคม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 และหาความเชื่อมั่นของ แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนทางสังคมโดยรวม ( X = 140.32, SD = 13.24 ) อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนทางสังคม ด้านการประเมิน ( X = 33.75, SD = 3.80 ) และด้านข้อมูลข่าวสาร ( X = 38.03, SD = 4.60) อยู่ในระดับดี ส่วนด้านอารมณ์ ( X = 41.73, SD = 7.23 ) และด้านวัตถุ สิ่งของ การเงินและแรงงาน ( X = 26.81, SD = 4.42) อยู่ในระดับปานกลาง (2) กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวม ( X = 2,142.36, SD = 614.43) อยู่ใน ระดับไม่ดี เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั่วไป ( X = 279.72, SD = 101.31) ด้าน การทำงานของร่างกาย ( X = 563.68, SD = 292.33) ด้านการจำกัดบทบาทเนื่องจากปัญหาสุขภาพทาง กาย ( X = 189.39, SD = 108.28) และด้านพลังชีวิต ( X = 237.74, SD = 67.02) อยู่ในระดับไม่ดี ส่วนด้าน ความปวดของร่างกาย ( X = 145.90, SD = 48.26) ด้านการทำหน้าที่ทางสังคม ( X = 154.25, SD = 48.49) ด้านสุขภาพจิต ( X = 343.16, SD = 80.44) และด้านการจำกัดบทบาทเนื่องจากปัญหาทางอารมณ์ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This descriptive study aimed to investigate social support and quality of life in patients with end stage renal disease receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis in CAPD clinic, department of medicine, Chaoprayayommaraj Hospital, Suphanburi. One hundred and six patients were included in this study by purposive. The instruments for data collection composed of demographic data, social support interview form which developed by Petcharat Butakhiew and SF-36 V2 interview form which translated in Thai by Methakanjanasak for quality of life assessment. Cronbach’s alpha coefficient were 0.94 and 0.79 for reliability for social support interview form and SF-36 V2 respectively. The descriptive data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. The results showed that (1) the samples received the overall social support in moderate level ( X = 140.32, SD = 13.24). Regarding the social support subscale; they were a good level of appraisal support ( X = 33.75, SD = 3.80), and informational support ( X = 38.03, SD = 4.60) moderate level of emotional support ( X = 41.73, SD = 7.23) and instrumental support ( X = 26.81, SD = 4.42). (2) the samples had the overall quality of life in poor level ( X = 2,142.36, SD = 614.43) , Regarding the quality of life subscale; they were a poor level of general health ( X = 279.72, SD = 101.31) , physical functioning ( X = 563.68, SD = 292.33) , role limitation due to physical health problems ( X = 189.39 SD = 108.28) and vitality ( X = 237.74, SD = 67.02) moderate level of bodily pain ( X = 145.90, SD = 48.26), social functioning ( X = 154.25, SD = 48.49), mental health ( X = 343.16, SD = 80.44) and role limitation due to emotional problems ( X = 228.54, SD = 72.49). The result of this study is useful for nurses’ competency developing and quality of life development patients with end stage renal disease receiving CAPD |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1296 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WIRAT SRITHONGTAE.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.