Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1299
Title: | ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการพยาบาลในการจัดการความปวดต่อความรู้การปฏิบัติของพยาบาล การรับรู้ความปวดและความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อต่อ |
Other Titles: | The effectiveness of nursing system development on knowledge, practice of nurses, pain perception and satisfaction of patients with post-operative orthopaedics and joint |
Authors: | สุธิดา ธีรานุตร |
metadata.dc.contributor.advisor: | วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ |
Keywords: | ผู้ป่วย -- การดูแล -- วิจัย;ผู้ป่วยหลังศัลยกรรรม -- การพยาบาล;ศัลยกรรมกระดูก -- การพยาบาล;การพยาบาล -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Prospective Intervention Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการพยาบาลในการจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อต่อ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในออร์โธปิดิกส์และศัลยกรรมทั่วไปจำนวน 24 คน และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อต่อหลังการพัฒนาระบบจำนวน 21 ราย การพัฒนาระบบการพยาบาลใช้โมเดลของ CURN เป็นกรอบแนวคิดซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอนได้แก่ (1) การแจกแจงปัญหา (2) การพัฒนาระบบการพยาบาล (3) การปฏิบัติตามระบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นและ (4) การประเมินผลการพัฒนาระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการความปวด แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลในการจัดการความปวด แบบประเมินการรับรู้ความปวดของผู้ป่วยและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนธันวาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติที ผลการศึกษาหลังการพัฒนาระบบ พบว่าพยาบาลมีความรู้เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยสามารถควบคุมความปวดได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สรุปได้ว่าการพัฒนาระบบการพยาบาลในการจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อต่อโดยใช้โมเดลของ CURN เป็นกรอบแนวคิดสามารถเพิ่มคุณภาพการดูแล การค้นพบครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อต่อที่เข้ารับการดูแลในโรงพยาบาลเป็นอย่างดี |
metadata.dc.description.other-abstract: | This prospective intervention study aimed to examine the effectiveness of nursing system development for pain management for patients in post - operative orthopedics and joint patients. There are 2 groups of purposive sampling for the study. Twenty four nurses of orthopedics and general surgery unit and 21post - operative orthopedics and joint patients were recruited. CURN model was used as a conceptual framework for the system development, which included identifying problem, system development, implementing system, and evaluation of the system. Instruments used to collect data consisted of nursing knowledge test related to pain management, nursing practices in pain management questionnaires, patient’s pain perception assessment and patient satisfaction questionnaire. Data were collected from October 2013 to December 2013. Descriptive statistics and paired t-test was used to analyze data. The findings showed that after the system development, nurses had improved knowledge. Patients controlled their pain as the criteria. Patient satisfaction with pain management higher than a hospital determined threshold. This study suggested that CURN model is useful to improve quality in post - operative orthopedics and joint patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1299 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SUTHIDA TEERANUT.pdf | 8.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.