Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/134
Title: การวิเคราะห์งานวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Research synthesis: guidelines for science project development in basic education
Authors: วริยากร อัศววงศานนท์
metadata.dc.contributor.advisor: พิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์
Keywords: โครงงานวิทยาศาสตร์;งานวิจัย -- การสังเคราะห์;การศึกษาขั้นพื้นฐาน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาใน ประเทศไทยที่เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างงที่ใช้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับย โครงงานวิทยาศาสตร์ระหว่างปีพ.ศ. 2556-2560 จำนวน 45 เล่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน คุณลักษณะของงานวิจัยและแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางโครงงานวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ ข้อมูลทำโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าความถี่ร้อยละ ตารางไข้วและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าด้านคุณลักษณะงานวิจัยสาขาที่มีการทำครงงานวิทยาศาสตร์มากที่สุด คือสาขาหลักสูตรและการสอน วัตถุประสงค์ที่ใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์มากที่สุดคือเพื่อ ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทฤษฎีที่ใช้ใน การทำโครงงานวิทยาศาสตร์มากที่สุดคือทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และเครื่องมือที่ใช้มาก ที่สุดในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์คือแผนการจัดการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะแนว ทางการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้คือ ควรมีวัตถุประสงค์ใน การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจน ออกแบบโครงงานและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เหมาะสมกับความแตกต่างและความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน โดยนำแนวคิด ทฤษฎีและเครื่องมือมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยที่ผู้เรียนควรได้รับการ สนับสนุนที่ดีจากครูผู้สอน โรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง ทั้งนี้ควรจัดเวทีในการนำเสนอ โครงงานจากทั้งทางภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเสนองานนวตักรรมทางด้านนโครงงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในยุค ไทยแลนด์ 4.0ได้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
metadata.dc.description.other-abstract: This project aimed to analyze the characteristics of graduate-level research on science projects in Thailand to propose appropriate guidelines for the development of science projects in basic education . The samples were 45 graduate-level theses on science projects published from 2013 to 2017. The instruments were research evaluation and expert interview. The data were analyzed using frequency and percentage. In addition, cross tabulation and content analysis were applied. The result revealed that the program that possessed most scienceprojects was Curriculum and Instruction. The major purpose of most scienceprojects was to investigate science process skills and to compare learning achievements. Most of the samples were found to use the theory of constructivism. The mostly used instrument was a lesson plan. Guidelines for science project development in basic education recommended by the experts were the application of clear project objectives, the project design on the basis of student-centered instruction that could meet the needs and the competence of each leaner with an integration of proper theories and tools to reach leaning objectives, with support offered by teachers, school administrators, and parents. Ultimately, science project presentations should be promoted by the public and the private sectors in order to create opportunities for the students in basic education to present their own technological and scientific innovations for the continuous and sustainable development of Thailand in the 4.0 era.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การศึกษา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/134
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-ES-D-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Variyakon Assavawongsanon.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.