Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1367
Title: การศึกษาความต้องการความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Need analysis of schools under the supervision of Phasi Charoen District Office, the Bangkok Metropolitan administration to develop an innovative organization
Authors: ธัญรดี หิรัญกิตติกร
metadata.dc.contributor.advisor: จุลดิศ คัญทัพ
Keywords: นวัตกรรมทางการศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพมหานคร;โรงเรียน -- การบริหาร -- กรุงเทพมหานคร;นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนาแนวทางความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 395 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และเมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้ขนาดตัวอย่าง 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Google Form) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Means) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของระดับความต้องการ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสำคัญของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการสื่อสาร ด้านโครงสร้างและองค์กรที่เหมาะสม ด้านบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการพัฒนาบุคลากร 2) แนวทางความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 6 ด้าน 6 แนวทางการพัฒนา
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to 1) explore needs of schools under the Supervision of of Phasi Charoen District Office, the Bangkok Metropolitan Administration, to develop an innovative organization and 2) promote the development of an innovative organization. The population included 395 teachers and administrators in schools under the Supervision of of Phasi Charoen District Office, the Bangkok Metropolitan Administration, and a sample size of 191 was determined using Krejcie and Morgan statistical table (1970). The instrument included a Google Form 5-scale questionnaire with a confidence interval of 0.95. Data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation. The results revealed that 1) the overall need in six aspects was high. Significance of personnel displayed the highest mean, followed by shared vision, communication, structure and appropriateness, environment, and personnel development, respectively. 2) The research recommended 6 developmental approaches
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การบริหารการศึกษา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1367
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-EA-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
THUNRADEE HIRUNKITTIKORN.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.