Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1379
Title: การพัฒนาแบบฝึกทักษะอิเล็กทรอนิกส์ด้านการคำนวณ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการพยากรณ์อุปสงค์
Other Titles: Effectiveness of the e-learning media of calculating skills to enhance achievement in demand forecasting course
Authors: มนัสชนก จันทร์ศรีชา
Keywords: การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์;ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน;อุปสงค์ -- การพยากรณ์;พยากรณ์ธุรกิจ
Issue Date: 2563
Publisher: ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะอิเล็กทรอนิกส์ด้านการคำนวณ เรื่องการพยากรณ์อนุกรมเวลา และหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนให้สูงขึ้น และเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพยากรณ์ อุปสงค์ในภาคการศึกษาที่ 1/2562 จำนวน 120 คน โดยทำการศึกษาประชากรทั้งหมด แบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 60 คน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มทดลอง ให้ทาแบบฝึกหัดระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกทักษะอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุม ให้ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนแบบเขียนตอบ (paper – pencil test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบ t-test แบบเป็นอิสระจากกัน (independent t test) การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะอิเล็กทรอนิกส์ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยในพบว่าแบบฝึกทักษะอิเล็กทรอนิกส์ด้านการคำนวณ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.50/83.06 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยผู้ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะอิเล็กทรอนิกส์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้และสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนแบบเขียนตอบ ทั้งนี้ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะอิเล็กทรอนิกส์ระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจด้านเนื้อหามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การจัดเรียงลำดับเนื้อหา แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน การออกแบบปฏิสัมพันธ์ และส่วนประกอบด้านมัลติมีเดีย ตามลำดับ ซึ่งประเด็นย่อยที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความถูกต้องของเนื้อหา รองลงมาได้แก่ ความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์ และใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ลำดับต่อมาคือความทันสมัยของการเสนอ และความยาวของการนำเสนอแต่ละหน่วย/ตอนเหมาะสม ช่วยให้ผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ช่วยตอบสนองความแตกต่างด้านความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาในบทเรียน
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research are to develop the e-learning media of calculating to enhance achievement in the demand forecasting course and to study the students' satisfaction with the e-learning media. The results can be used as a solution to the higher learning achievement problem and increase information technology skill. The population is 120 students who enroll in the demand forecasting course in the first semester in 2019. The students are divided into 2 groups, which 60 people per group. The first group is an experimental group that makes the exercises with the e-learning media of calculating and the second group is a control group that makes the exercises with the paper – pencil test. The statistical analyses are independent t – test, the efficiency of e – learning media, mean, and standard deviation. The results show that the efficiency value is 82.50/83.06 higher than the 80/80 criteria by the students who study with the e – learning media have the higher achievement than the criteria and the control group. In addition, the students' satisfactions from the most to the least are content, content sorting, interaction design and multimedia component. The rank of sub issue of satisfactions in descending order is content accuracy, consistency between content and purpose, the appropriate language and presentation. The results of the study can be used to develop the computer-aided instruction (CAI) that meet the differences of learner’s ability and help learners understand the content of the lesson.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1379
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:BA-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manuschanok Chansricha.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.