Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1387
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับฤทธิ์การลดไขมันของผักพื้นบ้านไทย |
Other Titles: | Screening of Lipid Lowering Activities of Thai Indigenous Vegetables |
Authors: | ปฐมาภรณ์ ปฐมภาค |
Keywords: | พืชเป็นยา -- วิจัย;โคเลสเตอรอลสูงในเลือด -- วิจัย;สารต้านโคเลสเตอรอล -- วิจัย;ไขมัน -- การควบคุม -- วิจัย |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเป็นหนึ่งใน ปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ปัจจุบันนี้นอกเหนือจากการใช้ยาที่สังเคราะห์ขึ้น การลดปริมาณ ไขมันและคอเลสเตอรอลในระบบหมุนเวียนเลือด โดยการใช้สารสกัดจากพืชในธรรมชาติเป็นอีก ทางเลือกที่ดีในการรักษา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของสารสกัดจากผักพื้นบ้าน ไทยต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์การลดไขมัน ซึ่งประกอบไปด้วย การยับยั้งเอนไซม์ที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึม การเกิดไมเซล และการจับกับกรดน้ำดี ผักพื้นบ้านจำนวน 24 ชนิด ถูกนำมาสกัดด้วยเอทานอล การศึกษาการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP พบว่า สารสกัดเอทานอลจากกระโดน (Careya sphaerica Roxb.) มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่สูงที่สุด คือ มีค่า EC50 เท่ากับ 21.28 ± 0.41 ไมโครโมลาร์ สำหรับวิธี DPPH และมีค่า FRAP ที่ 917.6 ± 41 ไม โครโมลาร์ การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ พบว่าสารสกัดเอทานอลจากธัมมัง (Litsea spp.) และส มุยหอม (Clausena cambodiana Guill.) มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แพนครีเอติคไลเปสและแพนครี เอติคคอเลสเตอรอลเอสเทอเรสดีที่สุด โดยมีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งที่ 86.8 ± 4.6 และ 97.1 ± 0.3 ตามลำดับ การศึกษาผลต่อการเกิดไมเซลพบว่า สารสกัดเอทานอลจากแพว (Polygonum odoratum Lour.) มีฤทธิ์ในการลดการเกิดไมเซลของคอเลสเตอรอลดีที่สุด คือ ลดการเกิดไมเซลได้สูงถึง 71.7 ± 3.4% การศึกษาการจับกับกรดน้ำดีพบว่า มีเพียงสารสกัดเอทานอลจากธัมมัง สมุยหอม และมันปู (Glochidion Perakense Hook.f.) ที่สามารถจับกับกรดน้ำดีได้ทั้ง 3 ชนิด คือ taurocholic acid taurodeoxycholic acid และ glycodeoxycholic acid ถึงแม้ว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนความสัมพันธ์ ระหว่างฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระกับฤทธิ์การลดไขมันที่แน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามพบว่าสารสกัดเอทา นอลของผักพื้นบ้านไทยบางชนิด มีฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึมของไขมัน และคอเลสเตอรอล การเกิดไมเซล และการจับกับกรดน้ำดีที่สอดคล้องไปในทางเดียวกัน จาก การศึกษาครั้งนี้อาจสรุปได้ว่าการบริโภคผักพื้นบ้านไทยบางชนิด เช่น ธัมมัง และ สมุยหอม สามารถช่วยลดการดูดซึมและการสะสมของไขมันและคอเลสเตอรอลในระบบการหมุนเวียนเลือดได้ |
metadata.dc.description.other-abstract: | Hyperlipidemia is a main cause of atherosclerosis which is one of the important public health problems. Presently, besides the synthetic drugs, to reduce lipid and cholesterol level in blood circulation system, the natural plant extracts were also used as a good alternative treatment. The objective of this study was to investigate the effect of Thai indigenous vegetable extracts on the antioxidative activity and lipid-lowering activity, including inhibition of metabolizing enzymes, micelle formation and bile acid binding. Twenty four vegetables were extracted in ethanol. For antioxidantive activities, the DPPH and FRAP assay were used for measurement antioxidantive properties. The results indicated that the ethanolic extract of Kradon (Careya sphaerica Roxb.) showed the highest antioxidantive activities with EC50 21.28 ± 0.41 μM for DPPH and FRAP value at 917.6 ± 41 μM for FRAP. For inhibition of enzyme activities, the ethanolic extract of Tum Mung (Litsea spp.) and Sa Mui Hom (Clausena cambodiana Guill.) expressed the highest % inhibitory value at 86.8 ± 4.6 and 97.1 ± 0.3 for porcine pancreatic lipase and pancreatic cholesterol esterase, respectively. For the cholesterol micellization, Paew (Polygonum odoratum Lour.) demonstrated the best reducing cholesterol micelles formation property at the % inhibition of 71.7 ± 3.4. For bile acid binding, only the ethanolic extract of Tum Mung, Sa Mui Hom and Man Poo (Glochidion Perakense Hook.f.) exhibited binding property to all bile acids (taurocholic acid, taurodeoxycholic acid, and glycodeoxycholic acid). Even though, no evident support clearly the relation between antioxidantive property and lipid-lowing activities. Nevertheless, the ethanolic extract of plants demonstrated the same trend for fatmetabolizing enzymes inhibition, cholesterol micellization and bile acid binding. These results may reply that consumption of some Thai indigenous vegetables, such as Tum Mung and Sa Mui Hom, can reduce absorption and accumulation of fat and cholesterol in blood circulation system |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1387 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Pha-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pathamaporn Pathompak.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.