Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1421
Title: | ความสามารถของ simple clinical score และ rapid emergency medicine score ในการทำนายระดับความรุนแรงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและอัตราการตาย ของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในแผนกฉุกเฉิน |
Other Titles: | Performance of the simple clinical score and rapid emergency medicine score in predicting the severity level of sepsis and mortality rate among patients with sepsis in the emergency department |
Authors: | มนพร ชาติชำนิ, แสงรวี มณีศรี กานต์ ยงศิริวิทย์ |
Keywords: | เลือด -- โรค -- ภาวะแทรกซ้อน -- วิจัย;กระแสเลือด -- การติดเชื้อ;เลือดติดเชื้อ -- การรักษา |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อตรวจสอบความสามารถของ Simple Clinical Score (SCS) และ Rapid Emergency Medicine Score (REMS) ในการทำนายระดับความรุนแรงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและอัตราการตายของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ณ แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลสิงห์บุรี (EC:สห ๐๐๓๑.๒๐๕.๒/๘๐ ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2560) จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์จากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับการรักษา ณ แผนกฉุกเฉิน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 - 2562 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม R- Base Language และตรวจสอบแบบประเมินถึงความแม่นยำของเครื่องมือประเมินระดับความรุนแรงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้ ROC curve (AUC) ด้วยการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของการพยากรณ์ทั้ง SCS และ REMS ที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในแผนกฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 225 ราย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 132 ราย (58.67%) และมีอายุเฉลี่ย 67.59 ปี โดยอายุมากกว่า 60 ปีที่เข้ารับการรักษามากที่สุด จำนวน 158 ราย (70.22%) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้รับการวินิจฉัยแรกรับเป็น Severe sepsis จำนวน 92 ราย (40.89%) รองลงมาคือ Sepsis จำนวน 89 ราย (39.55 %) ระบบในร่างกายที่มีการติดเชื้อจากการวินิจฉัยแรกรับ ได้แก่ โรคปอดอักเสบ จำนวน 148 ราย (65.77%) รองลงมาคือระบบทางเดินปัสสาวะ จำนวน 53 ราย (23.56%) ทั้งนี้กลุ่มผู้ป่วยทุกรายมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในร่างกายและส่วนใหญ่เสียชีวิต จำนวน 133 ราย (59.11%) รองลงมาคือกลับบ้าน จำนวน 85 ราย (37.78%) และย้ายโรงพยาบาล จำนวน 7 ราย (3.11%) จากการใช้แบบประเมิน SCS และ REMS จะเห็นได้ว่าตัวแปรที่สำคัญในการบ่งชี้ถึงการตอบสนองของร่างกายในภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นสัญญาณชีพที่สำคัญต่อการประเมินผู้ป่วยแรกรับ ซึ่งพบว่า 2 ตัวแปรที่เหมือนกันและมีค่าความสำคัญที่สูง (importance) คือ อัตราการหายใจ, (SCS = 2.582, REMS = 2.129) ] และความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (SCS = 3.776, REMS = 3.146)] อย่างไรก็ตามยังมีตัวแปรที่มีค่าความสำคัญสูงเช่นกันและเปนตัวแปรที่ไม่เหมือนกันระหว่างแบบประเมิน SCS และ REMS นั่นคือแบบการประเมิน SCS มี 3 ตัวแปรประกอบด้วย 1) ก่อนที่จะเจ็บป่วยในปัจจุบันมีการใช้เวลาส่วนหนึ่งนอนอยู่บนเตียง (Importance = 2.937), 2) ภาวะที่ผู้ป่วยหมดสติเป็นเวลานาน โดยไม่มีประวัติการใช้ยาเกินขนานหรือดื่มของมึนเมา (Importance = 2.787) และ 3) คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ (Importance = 1.764) ตามลำดับ และในส่วนของแบบประเมิน REMS มี 1 ตัวแปร คือ ระดับความรู้สึกตัวกลาสโกวโคม่า (Importance = 3.866)] เมื่อนำผลลัพธ์ของแบบประเมิน SCS และ REMS มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของการพยากรณ์อัตราการตายของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้ ROC curve (AUC) พบว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบจำลองที่สร้างจากแบบประเมิน REMS (89%) สูงกว่า SCS (82%) จากผลการศึกษาครั้งนี้ควรพิจารณาการนำแบบประเมินทั้ง SCS และ REMS มาใช้ในแผนกฉุกเฉิน ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องมือที่บ่งชี้ถึงการทำนายอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดล่าช้า แต่อย่างไรก็ตามทีมวิจัยขอเสนอแนะในการนำตัวแปรที่สำคัญจากผลการวิจัยครั้งนี้มาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้คัดกรอง/ประเมินภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดให้เหมาะสมกับบริบทของกับแผนกฉุกเฉินต่อไป และนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลในการช่วยชีวิตผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น |
metadata.dc.description.other-abstract: | Objective: To examine the performance of Simple Clinical Score (SCS) and Rapid Emergency Medicine Score (REMS) to predict the severity of sepsis and mortality among sepsis patients in the emergency department at Singburi Hospital, Thailand. Design: A retrospective survey was conducted. Setting: The study was carried out in the emergency department (ER) of Singburi Hospital, Thailand. Patients: A purposive sampling was chosen based on the criteria for the medical records of patients diagnosed with sepsis who were admitted to the emergency department during November 2018 - 2019, analyzed the data. The R-Base Language program was used, and the accuracy evaluation of the instruments assessed the severity of sepsis by using the ROC curve (AUC) by calculating the confidence of both SCS and REMS predictions of patient mortality in the emergency department. Rresults: A total of 225 septic patients was identified, with mortality rates in emergency departments of 59.11%. The first patients were treated and using the SCS and REMS assessments with the same two variables with high importance: respiratory rate (SCS = 2.582, REMS = 2.129) and blood oxygen concentration (SCS = 3.776, REMS = 3.146). However, there are also variables of high importance as difference variables, including the SCS assessment had three variables: 1) prior to the current illness, part of the time was spent lying in bed (importance = 2.937), 2). Illness, long-term unconsciousness. There was no history of overdose or alcohol intoxication (importance = 2.787) and 3) abnormal ECGs (importance = 1.764), respectively. In the REMS assessment was one variable, the Glasgow Coma Scale (GCS) (importance = 3.866). While the results of the confidence of the mortality prediction of patients with sepsis using the ROC curve (AUC), the confidence of the model generated from the REMS assessment (89%) was higher than the SCS (82%) Conclusion: The results of this study suggest that SCS and REMS assessments should be addressed in the ER. It could be used to predict mortality in patients who have delayed septicaemia. However, the research team recommends that key variables from this research be developed to develop screening and assessment tools sepsis based on the context of the emergency department. It leads to prompt and effective care for septicaemia patients to save lives |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1421 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Nur-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
MANAPORN CHATCHUMNI.pdf | 28.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.