Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1422
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพูน 2 อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Predictive factors of resilience among elderly with non-communicable disease in Bang Phun 2 of Tambon Health Promoting Hospital, Muang Pathum Thani District, Pathum Thani Province
Authors: ฐิตินันท์ อ้วนล่ำ, ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง
Keywords: พลังสุขภาพจิต;ผู้สูงอายุ -- สุขภาพจิต -- การดูแล;ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย -- ปทุมธานี
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักส่งผลกระทบต่อชีวิตทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หากได้รับการสนับสนุนให้มีพลังสุขภาพจิตที่ดีจะส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวต่อภาวะการเจ็บป่วยและสถานการณ์ที่ยากลำบากในชีวิตได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพลังสุขภาพจิตและปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพูน 2 จังหวัดปทุมธานี จำนวน 150 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การเผชิญปัญหา การมีขวัญและกำลังใจ และพลังสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตอยู่ในระดับสูง (Mean= 160.73, SD= 18.17) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การมีขวัญและกำลังใจ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะสุขภาพ และความเพียงพอของรายได้ สามารถร่วมทำนายพลังสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 73.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีพลังสุขภาพจิตมากขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: Elderly with non-communicable disease often affect their lives with physiological and psychological. If they are supported to have good resilience, their ability to adapt themselves to the illness and stressful situation will increase. To identify level of resilience and predictive factors of resilience among elderly with non-communicable disease. In this predictive correlation research, 150 elderly with non-communicable disease in Bang Phun 2 of tambon health promoting hospital, Pathum Thani province were recruited using the simple random technique. Research instruments included a questionnaire to gather data for demographic information, perception of health status, social support, activities of daily living, coping scale, morale, and resilience. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used to analyze data. The results revealed that resilience among the sample was at a high level (Mean= 160.73, SD= 18.17). The significant predictors of resilience were activities of daily living, morale, social support, perception of health status and adequacy of income. These predictors could together explain 73.30% of variance in resilience (R2= .733, p<.01)
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1422
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Nur-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitinan Ounlam.pdf33.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.