Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1434
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ภาพเหนือจริงในงานโฆษณา |
Other Titles: | ณัฐพงษ์ หริรักษาพิทักษ์ |
Authors: | ณัฐพงษ์ หริรักษาพิทักษ์ |
Keywords: | โฆษณา -- การออกแบบ;การสื่อสารทางการตลาด |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | โครงการวิจัยเรื่องภาพเหนือจริงในงานโฆษณานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์การสร้างสรรค์ภาพโฆษณาแนวเหนือจริงหรือเซอร์เรียลลิสม์ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา รูปแบบหรือสไตล์ ประเภท ความหมายสำคัญและการตีความของภาพเหนือจริงในงานโฆษณา การเปรียบเทียบงานจิตรกรรมเซอร์เรียลลิสม์กับงานโฆษณาเซอร์เรียลลิสม์ในความเหมือนและความแตกต่างของเซอร์เรียลลิสม์แบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่การเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงภาพโฆษณาที่มีลักษณะบ่งชี้ว่าเป็นเซอร์เรียลลิสม์ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแคมเปญโฆษณาสินค้าและบริการต่างๆจำนวน๑๐ กลุ่ม จากแหล่งข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ทั้งโฆษณาไทยและ ต่างประเทศผสมผสานกัน ที่เผยแพร่ในรูปแบบดิจิตอลตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือบล็อกบนสื่อนเตอร์เน็ต ได้กลุ่มตัวอย่างภาพโฆษณาทั้งสิ้น ๒๘ ชิ้นงาน การวิเคราะห์และอธิบายผลการวิจัยด้วยหลักการ ทฤษฎีสัญศาสตร์ หลักการและแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์โฆษณา แนวคิดการสร้างสรรค์งานเซอร์เรียลิสม์ และแนวคิดการตลาด มาบูรณาการเพื่อให้ผลการวิจัยมีประสิทธิผลผลการวิจัยค้นพบว่าการสร้างสรรค์ภาพโฆษณาแนวเหนือจริงนั้นส่วนใหญ่นักสร้างสรรค์ได้แรงบันดาลใจและอิทธิพลจากศิลปินเซอร์เรียลลิสม์คนสำคัญของโลกโดยเช่นซัลวาดอร์ ดาลี เรเน มากริทท์ และบอสซ์ โดยเฉพาะผลงานจิตรกรรมของซัลวาดอร์ดาลีมีอิทธิพลมากที่สุด โดยผลงานของพวกเขามีความน่าอัศจรรย์ในจินตนาการที่แปลกประหลาด เพ้อฝันในความไม่ลงรอยกันผิดธรรมชาติ ในการจัดวางรวมองค์ประกอบด้วยวัตถุต่างๆมาผสมผสานรวมกันอย่างไม่มีเหตุผล (Juxtaposition) เพื่อผลของภาพเหนือสองรูปแบบได้แก่ภาพเหนือจริงแบบงานจิตรกรรมเหนือจริงแบบดั้งเดิม ด้วยเทคนิคการจัดองค์ประกอบและใช้วิธีการเขียนสีน้ำมัน และแบบสมัยใหม่ด้วยภาพถ่ายเหนือจริงและตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์-โฟโต้ช็อป (Photography Surrealistic) ทำให้ภาพโฆษณามีความสวยงาม กระทบกระเทียบแดกดัน ดึงดูดใจและน่าทึ่งชวนติดตามและให้แปลความหมายของภาพภาพโฆษณาเหนือจริงมีการสื่อสารความหมายผ่านภาพที่มีทั้งภาพที่ต้องเข้ารหัสทางสัญศาสตร์ (Semiology) โดยมีตัวหมาย (Signifier) ภาพวัตถุสิ่งของหรือบุคคลเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นตัวหมายถึง (Signified) ความคิดของสารโฆษณานั้น และภาพที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาไม่ต้องเข้ารหัสสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ทั้งนี้เพื่อสื่อถึงจุดขาย (USP) ของสินค้าและบริการ ข้อมูลของแบรนด์ และแฝงไว้ด้วยอัตลักษณ์และบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Identity and Personality) กระตุ้นการรับรู้ในแบรนด์ และช่วยการส่งเสริมการตลาดโดยการสื่อสารอยู่ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรรมของ โฆษณาในประเทศนั้น การใช้ภาพเหนือจริงเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างสรรค์โฆษณา นักสร้างสรรค์โฆษณานิยมใช้เพื่อสร้างโฆษณาสินค้าและบริการของตนให้มีความโดด เด่นเหนือคู่แข่ง ดึงดูดใจ สร้างการจดจำให้ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research studied and analysed the creation of content, styles, types, meaning and interpretation of surrealistic advertisements. The study compared the surrealism of fine art and advertisements, the similarities and differences of the two models of the surreal: traditional and modern. The research was conducted by using qualitative research methods and utilized a random brand advertising selection which was composed only of ads that used surreal images. Most of the samples were compiled from print advertisements including magazine ads, newspaper ads and clippings which were published both nationally and internationally on the internet, websites or blogs. An integrated analysis of theories and concepts from semiology theory, advertising creativity, surrealist creativity and marketing concepts were used to analyse and explain these results. The findings indicated that creative images in surrealistic advertising were mainly influenced by the paintings of Salvador Dali and Rene Magritte. Their works contain fantastic and incongruous imagery which affects advertising by means of unnatural, irrational juxtapositions and combinations. Techniques used by the works analysed were painting and computer retouched photographs. The magnificent images and ironical appositions symbolized products, encoded products and serviced single minded concepts or unique selling propositions in order to retain brand information, brand awareness and increasing sales. During an epic of drastic competition among advertising companies and their profit earning enterprises, surrealist advertising was marketing niche specific products and had become a trend in advertising execution amongst these competitors. Surrealist ads were a very good alternative, which made an unparalleled impression in the consumer's mind. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1434 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | CA-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Natapong Hariraksapitak.pdf | 9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.