Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1471
Title: | คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน |
Other Titles: | Quality of work life and engagement that is related to the performance of employees in the energy industry |
Authors: | ปิยะฉัตร เกตุแก้ว |
metadata.dc.contributor.advisor: | เฉลิมพร เย็นเยือก |
Keywords: | คุณภาพชีวิตการทำงาน;ความผูกพันต่อองค์การ -- วิจัย;อุตสาหกรรมพลังงาน;ความพอใจในการทำงาน |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต. สำนักหอสมุด |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันธ์ต่อองค์การกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน โดยทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานของบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) จำนวน 310 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสิทธิส่วนบุคคล ด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับ ความผูกพันต่อองค์การในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ด้านการคงอยู่ อยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐาน กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานในภาพรวม อยู่ระดับมากที่สุด พบว่า ด้านปริมาณงาน อยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณภาพของงาน และด้านการใช้ทรัพยากร และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และอายุการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานแตกต่างกัน คุณภาพชีวิตการทำงาน ประกอบด้วย ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับ ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านความก้าวหน้า ด้านการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล ด้านการบูรณาการทางสังคม ด้านสิทธิส่วนบุคคล ด้านความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตด้านอื่น ๆ และด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม พบว่า ด้านความก้าวหน้า ด้านสิทธิส่วนบุคคล และด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม และความผูกพันต่อองค์การ ประกอบด้วย ความผูกพันด้านจิตใจ ความผูกพันด้านการคงอยู่ และความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ทั้ง 3 ด้าน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานมีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this study was to compare personal factors affecting employee performance in the energy industry, to study the relationship between quality of work life and the performance of employees in the energy industry, and to study the relationship between organizational affinity and the performance of employees in the energy industry group. The research was conducted by collecting the data obtained from the questionnaire. Samples in research were 310 employees in the power industry group of PTG Energy Public Company Limited. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA and multiple regression analysis. The results showed that the sample group had overall opinions about the quality of working at the highest level. It was found that safe working condition that promoted health was at the highest level, followed by privacy rights in relation to society and the compensation and benefits received. The overall commitment to the organization was at the highest level. The retention was at the highest level, followed by mental and normative aspects. The sample group had the overall opinion about the performance at the highest level. The workload was at the highest level, followed by the quality of work and the use of resources. According to the hypothesis testing results, it was found that different genders, ages, and work performance affect the performance of employees in different energy industry groups. The quality of working life consisted of compensation and benefits received, safe working conditions that promoted health, progress, human competence development, social integration personal rights, work-life balance, and other aspects of life. In terms of society, it was found that overall, the progress, and other aspects related to society and normative aspects. All three aspects are factor that affected the performance of employees in the energy industry with statistical significance at the level of 0.05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 |
metadata.dc.description.degree-name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1471 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | BA-BA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PIYACHAT KETKAEW.pdf | 8.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.