Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1480
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง |
Other Titles: | The association among knowledge, self-efficacy, and self-management behaviors in patients with chronic kidney disease |
Authors: | ศิริวรรณ พายพัตร |
metadata.dc.contributor.advisor: | น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, วารินทร์ บินโฮเซ็น |
Keywords: | พฤติกรรมสุขภาพ;ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง;สมรรถนะ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต. สำนักหอสมุด |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการตนเองและอำนาจการทำนาย พฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรังของความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน โดยใช้ แนวคิดการจัดการตนเองของเคอร์ตินและคณะเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือก แบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวน 91 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล พื้นฐาน ความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเอง ตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.86-0.97 วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นชนิดความ สอดคล้องภายในของแบบวัดความรู้โดยใช้คูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 และพฤติกรรมการจัดการตนเอง และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยใช้สัมประสิทธ์ิแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.72, 0.96 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการ วิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมร้อยละ 70.33 อยู่ในระดับต่ำ เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมการดูแลตนเองร้อยละ56.04 อยู่ใน ระดับปานกลาง ด้านการติดต่อสื่อสารกับบุคลากรสุขภาพร้อยละ 84.62 อยู่ในระดับต่ำ และการ พิทักษ์สิทธ์ิของตนเองร้อยละ 97.80 อยู่ในระดับต่ำ ความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.01 และร่วมกัน ทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ร้อยละ 51.00 |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of this study was to investigate self-management behavior and predictive power towards the association among knowledge, self-efficacy, and self-management behavior of patients with chronic kidney disease. Self-management theory by Curtin was used as a conceptual framework. Ninety-one patients with chronic kidney disease were purposively selected. Data were collected by questionnaires concerning demographic data, knowledge, self-efficacy, and self-management behavior. Content validity was accepted according to the KR 20 index, ranging from 0.86-0.97, and Cronbach’s coefficient alpha were 0.72, 0.96, and 0.96 respectively. Descriptive Statistics, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression were employed to analyze the data. The findings revealed that 70.33% of the sample had overall self-management behavior scores at low level. Regarding each domain, 56.04% had moderate level of self-care activity, while 84.62% and 97.80% had low level of communication with healthcare providers and self-advocacy behavior respectively. Knowledge and self-efficacy were significantly positive and correlated with self-management behaviors and could predict 51.00%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม (การพยาบาลผู่ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1480 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
IRIWAN PAYPAT.pdf | 7.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.