Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1483
Title: | การวิเคราะห์โฆษณาแฝงและกลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการนำเสนอสินค้าสตรีผ่านผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ |
Other Titles: | An analysis of tie-in advertising and persuasive communication strategies in the presentation of products for women through online influencers |
Authors: | พิจิตรา เลาเหล็กพลี |
metadata.dc.contributor.advisor: | ลักษณา คล้ายแก้ว |
Keywords: | โฆษณาแฝง;การโน้มน้าวใจ;สื่อออนไลน์ -- การตลาด |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต. สำนักหอสมุด |
Abstract: | การวิจัยครั้งนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการแฝงโฆษณาสินค้าสตรี ผ่านผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ และ 2) ศึกษากลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการนำเสนอแฝงโฆษณาสินค้าสตรีผ่านผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์การแฝงโฆษณาและกลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการนำเสนอสินค้าสตรีผ่านรายการของผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ โดยศึกษาจากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ยูทูบย้อนหลัง 1 ปี (มกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2561) ของผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ จำนวน 4 ราย ได้แก่สู่ขวัญ บูลกุล, แอน ทองประสม, โมเม นภัสสร และ นุ่น นพลักษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการแฝงโฆษณาสินค้าสตรีผ่านผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ ปรากฏการแฝงโฆษณาในรายการ 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) การแฝงสปอตสัน้ หรือ VTR สัน้ ๆ ก่อนเริ่มรายการ โดยใช้วิธีการแฝงโลโก้หรือชื่อสินค้า และการประมวลภาพสั้น ๆ ที่แสดงการหยิบจับ สวมใส่ หรือการกล่าวถึงเรื่องราวที่น่าสนใจของสินค้า (2) การแฝงกราฟิกรูปแบบต่างๆ อาทิ โลโก้ตราสินค้า ชื่อตราสินค้าราคาสินค้าและโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย ชื่อสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า คำบรรยายเกี่ยวกับสินค้า (3) การแฝงวัตถุ อาทิ การแฝงสินค้าจริง ณ สถานที่จัดจำหน่าย การแฝงบรรยากาศของสถานที่จัดจำหน่าย การแฝงป้ายโลโก้ตราสินค้า การแฝงป้ายราคาสินค้า ป้ายลดราคาสินค้าต่างๆ ตลอดรายการ (4) การแฝงบุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่พบได้ตลอดรายการ โดยบุคคลหลักในการแฝงโฆษณาคือ ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการ และบุคคลรองคือ เจ้าของตราสินค้า แขกรับเชิญที่มีชื่อเสียง ทีมงานผู้ถ่ายทำรายการ และพนักงานดูแลตราสินค้า (5) การแฝงเนื้อหา ได้แก่ การบอกเล่าประสบการณ์หรือความรู้สึกที่ดีต่อสินค้า อธิบายข้อมูลสินค้าต่างๆ อาทิ คุณสมบัติ คุณลักษณะคุณประโยชน์ วิธีการใช้งาน ช่องทางการซื้อสินค้า สถานที่จัดจำหน่าย และการแนะนำโปรโมชั่นสินค้า จากรูปแบบการแฝงโฆษณาที่ปรากฏ และ 2) ด้านกลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการนำเสนอสินค้าสตรีผ่านผู้ทรง อิทธิพลออนไลน์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์การดึงดูดใจเชิงเหตุผล (Rational Appeal) และกลยุทธ์การดึงดูดใจเชิงอารมณ์ (Emotional Appeal) |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of the research were 1) to study patterns of tie-in advertising in the presentation of products for women through online influencers and 2) to study persuasive communication strategies in the presentation of products for women through online influencers. A qualitative research study was applied by analyzing tie-in advertising and persuasive communication strategies in the presentation of products for women through online influencers. The data were collected from video clips from YouTube from January to December 2018 presented by four online influencers as follows: Suquan Bulakul, Ann Thongprasom, Momay Napatsorn, and Nune Noppaluck. The findings revealed that 1) tie-in advertising: five patterns were (1) the use of a short VTR before the program with a tie-in logo or a product name, as well as a short clip showing that these influencers touching, wearing, or mentioning the products or their interesting stories (2) the use of tie-in graphics, such as product logos, brands, prices and promotions, shops, and product description (3) the use of tie-in products, such as real products at certain events, an atmosphere, a tie-in logo, a tie-in price tag, and a tie-in product discount throughout the program (4) the use of a tiein person considering significantly important throughout the program with the emphasis on the major role of online influencers who were the host of the program, while the subordinate roles were famous guests, staff and crew, and salespersons (5) the use of tie-in content, such as experience sharing, positive feeling towards products, product explanation regarding features, characteristics, usefulness, usage, sales channels, shops, and product promotion from tie-in advertising; and 2) persuasive communication strategies in the presentation of products for women through online influencers can be divided into two main parts which were Rational Appeal and Emotional Appeal. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1483 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CA-CA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PIJITRA LOWLEKPLEE.pdf | 7.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.