Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1537
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธานี วรภัทร์ | - |
dc.contributor.author | พัทธนันท์ นาสวน | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-27T06:17:19Z | - |
dc.date.available | 2023-02-27T06:17:19Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1537 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 | en_US |
dc.description.abstract | บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางในการแก้ไขกรณีระยะเวลาในการรับคำกล่าวหาถึงการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ อันเป็นเงื่อนสำคัญในการรับเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อดำเนินการลงโทษตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 จากการวิเคราะห์พบว่าการกำหนดระยะเวลาไม่ได้สัดส่วนกับพฤติการณ์ในความเป็นจริง เนื่องจากใน ปัจจุบันมีการเอื้ออำนวยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย อีกทั้งความผิดฐานทุจริตนั้นไม่ได้เกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียวเสมอไป ในบางกรณีอาจมีบุคคลอื่นเข้าร่วมกระทำความผิดด้วย อาทิเช่น ผู้มีอิทธิพล ผู้มีตำแหน่ง ที่สูงกว่า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้การกระทำมีความซับซ้อนทำให้ยิ่งยากต่อการรวบรวมพยานหลักฐานให้ ทันระยะเวลาที่กำหนด เมื่อได้ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสอบถามผู้เชี่ยวชาญในกรณีดังกล่าวพบว่ายังมี บทกฎหมายที่มีการกำหนดระยะเวลาในการรับคำกล่าวหาถึงการกระทำความผิดไว้เช่นเดียวกันอาจแตกต่าง เพียงจำนวนของเวลาเท่านั้น โดยบทกฎหมายอื่นนั้นมีการกำหนดระยะเวลาที่ยาวนานหรืออาจถูกกำหนดให้ไม่ มีอายุความในเรื่องนั้นเลย เนื่องด้วยการยึดจากอัตราโทษเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา นอกจากระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเมื่อศึกษาโดยเชิงลึกจะพบว่ามีกรณีที่ยังพบความบกพร่อง กล่าวคือ กรณีการให้อำนาจพนักงานอัยการในการเข้าร่วมพิจารณาคำกล่าวหานับแต่เริ่มต้น ซึ่งในพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 ไม่ได้มีการให้ อำนาจพนักงานอัยการเข้าร่วมพิจารณาแต่อย่างใดมีเพียงให้อำนาจในการส่งฟ้องศาลต่อเมื่อมีการพิจารณา จากคณะกรรมการ ป.ป.ท. เสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่โปร่งใสในการ พิจารณา แต่ในบทกฎหมายอื่นนั้นมีการให้อำนาจพนักงานอัยการในการเข้าร่วมพิจารณาหรืออาจให้คำปรึกษา เพื่อให้กระบวนการดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- ไทย | en_US |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ | en_US |
dc.subject | เจ้าหน้าที่รัฐ | en_US |
dc.title | การศึกษาและบังคับใช้พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ศึกษากรณีระยะเวลาในการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐ | en_US |
dc.title.alternative | Education and enforcement of executive measures in Anti-Corruption Act, B.E.2551: a case study of the timing of allegations of government officials | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This research aims to study and suggest guidelines for resolving the case of the duration of accepting allegations of corruption by government officials. It is regarded an important condition for accepting each case into the trial under the Executive Measures in Anti-Corruption Act, B.E.2551. From the analysis, it revealed that the determination of time period was not equivalent to the actual situation because of the assistance from the modern technology. In addition, the crime of corruption is not always linked to only one person since it could associate with others as well: influential person, higher-ranking official, etc. Therefore, the complexity of actions makes it harder to collect evidences under the time constraint. When studying the relevant documents and interviewing experts in such cases, it showed that laws concerning the duration of accepting the allegations, which may be only different in terms of the amount of time; other laws or legislations may be applied for longer period of time or may be required to have no statute of limitation on account of the rate of penalty as a basis for consideration. In addition to the above-mentioned period, when conducting an in-depth study, a number of cases regarding deficiencies can still be found, namely, the case of allowing the public prosecutor to be a part of the trial from the beginning, which is considered against the Executive Measures in Anti-Corruption Act, B.E.2551 where public prosecutors are not authorized to participate in, but only the authority to file a lawsuit after the consideration of the PACC committee having been completed. This process contributed to a doubt in transparency in the trial. However, in other legislations, public prosecutors are entitled to attend the trail or may provide consultation in order to be in the right direction | en_US |
dc.description.degree-name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
Appears in Collections: | Law-Law-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PHATTHANAN NASUAN.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.