Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1552
Title: ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด
Other Titles: The effects of information and communication technology on gross provincial product
Authors: คิสตีนาร์ จารุวัฒนาตระกูล
metadata.dc.contributor.advisor: วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์
Keywords: เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร;ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด;การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารกับผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด ตัวแปรอิสระในงานวิจัย ได้แก่งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อหัว รายได้จากการท่องเที่ยวต่อหัวจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร อันดับการศึกษาของแต่ละจังหวัด เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) ที่มีคอมพิวเตอร์และจำนวนประชากร (ร้อยละ) ที่มีมือถือใช้ ส่วนตัวแปรตาม คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวรายจังหวัด (GPPPC) โดยใช้ข้อมูลในปี 2559 นอกจากตัวแปรอันดับการศึกษาของจังหวัดที่ผู้วิจัยใช้ข้อมูลของปี 2557 เนื่องจากเป็นข้อมูลล่าสุดที่หาได้ ผู้วิจัยใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด(Ordinary Least Squares) ในการหาทิศทางและขนาดความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จำนวนประชากร (ร้อยละ)ที่มีมือถือใช้รายได้จากการท่องเที่ยวต่อหัว และเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ มีอิทธิพลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวรายจังหวัดได้ในทิศทางเดียวกัน และจำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) ที่มีคอมพิวเตอร์ ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวรายจังหวัดในทิศทางตรงกันข้าม
metadata.dc.description.other-abstract: The aim of this research is to study the relationship between factors of Information and Communication Technology (ICT) on Gross Provincial Product (GPP). Independent variables for each province are: budget allocation per capita for science, technology and innovation, tourism income per capita, average years of education of people, ranking of education, commercial bank loans issuing, number of households (percent) connected to the internet, number of households (percent) having computers and number of people (percent) using mobile phone. The dependent variable is Gross Provincial Product per capita (GPPPC). The data for the year 2016 were used, except for the case of the ranking of education where the latest data was available in 2014. The Ordinary Least Square method was employed to estimate the relationships among the variables of interest. The results from this study indicate that Number of households (percent) connected to the internet, number of people (percent) using mobile phone, tourism income per capita and commercial bank loans issuing have positive impact on Gross Provincial Product per capita. On the other hand, number of households (percent) having computers has negative effect on Gross Provincial Product per capita.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เศรษฐกิจดิจิทัล
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1552
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EC-DE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KISTINA JARUVATTANATRAK.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.