Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1571
Title: | การฝึกซ้อมบทเพลง ยิปซีโทนิก ประพันธ์โดยเจสซี มังค์แมนและบทเพลง เท็กซัสโฮดาวน์ ประพันธ์โดยเดวิด ฟรีดแมน |
Other Titles: | Practice techniques in gypsy tonic by Jesse Monkman and texas hoedown by David Friedman |
Authors: | ดนุพงษ์ หงษ์โภคาพันธ์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธีรัช เลาห์วีระพานิช |
Keywords: | การวิเคราะห์เพลง;บทเพลง -- การตีความ;การร้องเพลง -- วิธีการ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง การฝึกซ้อมบทเพลง ยิปซีโทนิก ประพันธ์โดยเจสซี มังค์แมน และบทเพลง เท็กซัสโฮดาวน์ ประพันธ์โดยเดวิด ฟรีดแมน มีวัตถุประสงค์เพื่อตีความบทเพลง วิเคราะห์เทคนิคการบรรเลง และนาเสนอแนวทางการฝึกซ้อม โดยมีขอบเขตการวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ คุณลักษณะของเสียง ความเข้มเสียง การใช้สโตรก การเลือกใช้ไม้ ตำแหน่งการตี โดยเทคนิคที่กล่าวมานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบนมาริมบาและไวบราโฟน แต่บนไวบราโฟนจะมีเทคนิคการใช้เพเดิล และการหยุดเสียงโดยไม่ใช้เพเดิลเข้ามาเกี่ยวข้อง จากการศึกษา ผู้วิจัยได้ตีความบทเพลงและกาหนดความเข้มเสียงเพิ่มเติมตาม ความเหมาะสม โดยพิจารณาจากทิศทางของโน้ตสำคัญเป็นหลัก ในบทเพลงมีการใช้สโตรก ทั้งหมด 7 แบบได้แก่ สตักกาโตสโตรก เลกาโตสโตรก อัพสโตรก ซิงเกิลอัลเทอร์เนติงสโตรก ซิงเกิลอินดิเพนเดนท์สโตรก ดับเบิลเวอร์ทิเคิลสโตรก และดับเบิลแลเทอร์รัลสโตรก การเลือกใช้ไม้ในบทเพลง ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถออกแบบได้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล แต่ยังมีจุดที่อาจจะสับสนและต้องพิจารณาการเลือกใช้ไม้ให้เหมาะสม ตำแหน่งการตี ผู้วิจัยจะพยายามตีที่กลางลิ่มเสมอ แต่ด้วยการตีความบทเพลงและข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้มีการตีที่ปลายลิ่มอยู่บ้าง ในบทเพลง เท็กซัสโฮดาวน์ ผู้วิจัยได้เลือกใช้เพเดิลทั้งหมด 3 แบบได้แก่ ริธึมมิคเพเดิลลิง ฮาล์ฟเพเดิลลิง และอาฟเตอร์เพเดิลลิง นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้เพิ่มการแดมเพนนิงในบางจุดซึ่งพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม และไม่ส่งผลกระทบกับโน้ตอื่น ๆ โดยผู้วิจัยใช้การแดมเพนนิงทั้งหมด 2 แบบได้แก่ แดมเพนนิงสลับมือ และสไลด์แดมเพนนิง เพื่อทำให้บทเพลงมีความสมบูรณ์ด้านความสั้นยาวของโน้ตมากขึ้น |
metadata.dc.description.other-abstract: | This thesis is entitled “Practice Techniques in Gypsy Tonic by Jesse Monkman and Texas Hoedown by David Friedman,” and the objectives are to interpret the selected pieces, analyze techniques, and suggest practice methods to increase the capability in the performance. This study focuses on articulation, dynamic, stroke, sticking, mallet position on marimba and vibraphone, as well as pedaling and dampening on vibraphone. The researcher interpreted and interpolated the dynamic from the melodic direction. There were 7 types of strokes including staccato stroke, legato stroke, up stroke, single alternating strokes, single independent strokes, double vertical strokes, and double lateral strokes. Sticking, in most cases, depended on the individual's aptitude, but there were points that were confused and must be reconsidered. In addition, the striking position was mostly on the center of the bars, but with interpretation and limitations, the researcher also hit the edge of the bars as well. In Texas Hoedown, the researcher employed three types of pedaling which were rhythmic pedaling, half pedaling, and after pedaling. In addition, the researcher added dampening at a point that was considered appropriate and used two types of damping which were opposite hand dampening and slide damping to make the piece more complete |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ดศ.ม. (ดุริยางคศาสตร)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 |
metadata.dc.description.degree-name: | ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1571 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Ms-Music-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
DANUPONG HONGPOKAPAN.pdf | 14.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.