Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1620
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กาญจนา สุริยะพรหม | - |
dc.date.accessioned | 2023-04-03T02:38:57Z | - |
dc.date.available | 2023-04-03T02:38:57Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1620 | - |
dc.description.abstract | รีซีสตินเป็นโปรตีนที่หลั่งมาจากเซลล์ไขมัน ซึ่งถูกเสนอแนะว่ามีความสัมพันธ์กับความอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รีซีสตินมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอินซูลินและยีนของรีซีสตินก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะต้านการทำงานของอินซูลิน วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อตรวจวัดระดับรีซีสติน น้ำตาลในเลือด อินซูลิน คลอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอร์ไรด์ ความดันโลหิต และค่าสัดส่วนร่างกายต่างๆ ในคนอ้วนและคนไม่อ้วนที่เป็นโรคเบาหวานและไม่เป็นโรคเบาหวาน และตรวจหาอัตราความชุกของการเกิดการแปรผันทางพันธุกรรมของยีนรีซีสตินที่ตำแหน่ง-420(C>G) การวิจัยในครั้งนี้ใช้อาสาสมัครทั้งหมด 200 ราย และใช้เกณฑ์ของความอ้วน (OB, น้ำหนักเกินหรืออ้วน; nOB, น้ำหนักไม่เกินหรือไม่อ้วน) และการเป็นเบาหวาน (DM, เป็นโรคเบาหวาน; nDM, ไม่เป็นโรคเบาหวาน) ในการแบ่งกลุ่มอาสาสมัครได้ดังนี้ nOB/nDM, OB/nDM, nOB/DM และ OB/DM ระดับรีซีสติน น้ำตาลในเลือด อินซูลิน คลอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอร์ไรด์ ความดันโลหิต และค่าสัดส่วนร่างกายต่างๆ จะถูกตรวจวัด ส่วนการศึกษาความแปรผันของยีนรีสซีตินที่ตำแหน่ง -420(C>G) จะใช้เทคนิคของ PCR-RFLP ผลการศึกษาพบว่าระดับรีซีสตินในกลุ่มของคนอ้วนที่ไม่เป็นเบาหวานจะมีระดับรีซีสตินที่สูงกว่าในกลุ่มของคนที่ไม่อ้วนที่ไม่เป็นเบาหวาน (p< 0.05) ส่วนกลุ่มของคนอ้วนที่เป็นเบาหวานจะมีระดับรีซีสตินที่สูงที่สุด เมื่อนำ 2 กลุ่มของคนที่ไม่อ้วนมารวมกันเป็น 1 กลุ่ม และนำ 2 กลุ่มของคนที่อ้วนมารวมกันเป็นอีก 1 กลุ่มจะพบว่าค่ากลางของรีซีสตินในกลุ่มคนที่อ้วนจะมีค่าสูงกว่าในกลุ่มคนที่ไม่อ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบความสัมพันธ์ของรีซีสตินกับค่าของดัชนีมวลกาย อัตราส่วนของเอวต่อสะโพก น้ำตาลในเลือด ไขมันและความดันโลหิต การศึกษาความแปรผันของยีนรีซีสตินที่ตำแหน่ง-420(C>G) พบว่าระดับของรีซีสตินไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติระหว่างกลุ่มคนที่มีจีโนไทป์เป็น CG/GG (3.33 ng/ml) กับกลุ่มคนที่มีจีโนไทป์เป็น CC genotype (2.39 ng/ml) นอกจากนี้ยังพบว่าการเกิดความแปรผันของยีนรีซีสตินที่ตำแหน่งนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับความอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยสรุปจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้พบข้อเสนอที่ว่าระดับรีซีสตินในกลุ่มคนที่อ้วนจะมีค่าสูงกว่าในกลุ่มคนที่ไม่อ้วนและการเกิดความแปรผันของยีนรีซีสตินที่ตำแหน่ง-420(C>G) อาจไม่มีผลที่สำคัญต่อการเกิดภาวะอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในคนไทย | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | โรคอ้วน -- วิจัย -- ไทย | en_US |
dc.subject | พันธุกรรม -- โรค | en_US |
dc.subject | ภาวะน้ำหนักเกิน | en_US |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การศึกษาระดับรีซีสตินและการแปรผันทางพันธุกรรมของยีนรีซีสตินในคน ไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน | en_US |
dc.title.alternative | Study of Resistin and Its gene polymorphism in Thai overweight and obese subjects | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | Resistin is an adipokine that has been suggested to be associated with obesity and type II diabetes. It antagonizes insulin and is a candidate gene for insulin resistance. Aims of this study were to detect the levels of resistin, fasting blood sugar, insulin, total cholesterol, triglycerides, blood pressures, and anthropometric variables in obese and non-obese with and without type II diabetes and to investigate the of prevalence of resistin gene polymorphism at position -420(C>G), in those subjects. We investigated 200 individuals who voluntarily participated in the study. Subjects were allocated by obesity status (OB, overweight or obese; nOB, non-overweight or non-obese) and diabetic status (DM, diabetes; nDM, non-diabetes) including the groups of nOB/nDM, OB/nDM, nOB/DM and OB/DM. The levels of resistin, insulin, fasting blood sugar, total cholesterol, triglycerides, blood pressures and anthropometric variables were determined. The polymorphisms of resistin gene at the position -420(C>G) were genotyped by PCR-RFLP technique. The OB/nDM group had higher resistin concentrations than in nOB/nDM group (p< 0.05). The OB/DM groups had highest resistin levels. When participants of the two nOB groups were pooled into one group and the subjects of the two OB groups were combined into another group, the median resistin levels of the OB groups were significantly higher compared with the nOB groups. A significant correlation of resistin with BMI, waist to hip ratio, fasting blood sugar, lipids and blood pressure had been observed. At the position -420(C>G) of resistin gene polymorphism, the resistin concentration was not significantly difference between CG/GG genotypes (3.33 ng/ml) and CC genotype (2.39 ng/ml). Moreover, the resistin gene polymorphism at this position was not significantly associated with obesity as well as Type 2 diabetes. In conclusions, these finding suggest that the resistin levels in obese subjects had higher than those in non-obese subjects and resistin gene polymorphism at the position -420(C>G) may not significantly appear to effect on susceptibility to obesity and Type 2 diabetes in Thais. | en_US |
Appears in Collections: | MeT-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanjana Suriyaprom.pdf | 21.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.