Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1622
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการสำรวจความชุกของยีนดื้อยา (pfmdr1) และ (pfcrt) ของเชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารัมในประเทศไทย โดยวิธี Multiplex Nested PCR-RFLP
Other Titles: A survey on prevalence of pfmdr1 and pfcrt mutations in plasmodium falciparum isolates from Thailand by multiplex nested PCR-RFLP
Authors: กัญญนันทน์ กฤษศิริวุฒินันท์
Keywords: พลาสโมเดียม -- วิจัย;การดื้อยา -- วิจัย;ยีน -- วิจัย;ระบาดวิทยา -- วิจัย;มาลาเรีย -- การติดเชื้อ -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การดื้อต่อยาต้านมาลาเรียของเชื้อ Plasmodium falciparum เป็นปัจจัยสำคัญของการเพิ่มอัตราการระบาดของโรคมาลาเรีย และ เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมาลาเรีย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการดื้อต่อยาต้านมาลาเรียของเชื้อ P. falciparum มีความสัมพันธ์กับการเกิดการกลายพันธ์ของยีน pfmdr1 ที่ตำแหน่ง 86 (N86Y) และ pfcrt ที่ตำแหน่ง 76 (K76T) ผู้วิจัยจึงจึงได้ทำการศึกษาสำรวจอัตราความชุกของการกลายพันธุ์ของยีนทั้ง 2 ชนิดของเชื้อ P. falciparum ด้วยวิธี Multiplex - nested PCR-RFLP โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดผู้ติดเชื้อ P. falciparum จากสถานพยาบาลในเขตชุกชุมโรค 8 จังหวัดของประเทศไทยช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2552 มีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 84 ตัวอย่าง พบว่ามีอัตราความชุกของการกลายพันธุ์ของยีน pfmdr1 ที่ตำแหน่ง 86 (N86Y) สูงถึง 52.38% และพบอัตราความชุกของการกลายพันธุ์ของยีน pfcrt ที่ตำแหน่ง 76 (K76T) สูงถึง 100 % แสดงให้เห็นว่าเชื้อ P. falciparum มีแนวโน้มดื้อต่อยาต้านมาลาเรียเพิ่มมากขึ้น โดยจังหวัดที่พบว่ามีอัตราความชุกของการกลายพันธุ์ของยีนทั้ง 2 ชนิดมากที่สุดคือจังหวัดแม่ฮ่องสอน (100%) และจังหวัดที่พบน้อยที่สุดคือจังหวัดตรัง (25%) จากข้อมูลงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านระบาดวิทยา เพื่อประมาณอัตราความชุกของเชื้อดื้อยา เป็นประโยชน์ในด้านการรักษาโดยเลือกใช้ยาต้านมาลาเรียได้อย่างเหมาะสม และการควบคุม เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อดื้อต่อยาต้านมาลาเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: Plasmodium falciparum drug resistance is a major factor of malaria spreading and mortality rate of malaria. Many studies showed that chloroquine and other antimalarial drugs resistance of P. falciparum has been associated with the mutation of pfmdr 1 (N86Y) and pfcrt (K76T) genes. The aim of this study was to survey the prevalence of these two genes mutation. A total of eighty four P. falciparum infected blood samples were collected from eight medical centers of the endemic provinces in Thailand between March-August 2009. The Multiplex-nested PCR-RFLP was performed to investigate the two genes mutation. The results revealed a high prevalence of genes mutation of P. falciparum of 52.38 % for pfmdr1 (N86Y) and 100 % for pfcrt (K76T). This may suggest that P. falciparum drug resistance will be increasing. The highest and the lowest prevalence of these two genes mutation found at Maehongson province (100%) and Trang province (25%) respectively. This study will be useful in epidemiological surveys of the prevalence of drug resistance in P. falciparum, potentially for predicting the appropriate antimalarial drug treatment and improving malaria drug resistance transmitting and control program.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1622
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:MeT-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyanan.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.