Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1635
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก น้ำหนัก และส่วนสูงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต โดยแบบทดสอบของแบร์โรว์ |
Other Titles: | Assessment of the motor fitness, weight and height of students Rangsit University, by Barrow motor ability method |
Authors: | สุจิตรา บุญเกิด |
Keywords: | สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ -- วิจัย;สุขภาพและอนามัย -- วิจัย |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกลไก น้ำหนักและส่วนสูงของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และสร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกลไก แยกตามเพศและชั้นปี โดยใช้แบบทดสอบของแบร์โรว์ ซึ่งประกอบด้วย การยืนกระโดดไกล การทุ่มลูกเมดิซินบอล การวิ่งซิกแซก และการวิ่ง 5 นาที กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาชาย 200 คนและหญิง 200 คน มีอายุเฉลี่ย 20 ± 4 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 58 ± 7 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 164 ± 8 เซนติเมตร ในชาย และมีน้ำหนักเฉลี่ย 48 ± 5 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 156 ± 4 ซม.ในหญิง ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาชายและหญิงชั้นปีที่ 1 มีสมรรถภาพทางกลไกแต่ละรายการดีกว่านักศึกษาชายและหญิงชั้นปีที่ 2 , 3 และ4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดสอบการยืนกระโดดไกลมีค่าอยู่ในช่วง 37.22 นิ้ว ในนักศึกษาหญิง และ103.26 นิ้ว ในนักศึกษาชาย ระยะทางการทุ่มลูกเมดิซินบอลมีค่าอยู่ในช่วง 9.04 ฟุต และ 54.74 ฟุต ในนักศึกษาหญิงและชาย ตามลำดับ เวลาในการวิ่งซิกแซก มีค่าในช่วง 54.32 วินาที ในนักศึกษาหญิงและ 22.67 วินาที ในนักศึกษาชาย ค่าระยะทางที่ได้จากการวิ่งเป็นเวลา 5 นาที มีค่าอยู่ในช่วง 531.24 เมตร และ1,718.42 เมตร ในนักศึกษาหญิงและชายตามลำดับ ค่าสมรรถภาพทางกลไก ของนักศึกษาชายและหญิงชั้นปีที่ 2,3 และ 4 ต่ำกว่าชั้นปีที่ 1 อาจเป็นผลกระทบจากการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาเฉพาะชั้นปีที่ 1 ลงทะเบียนเรียนพลศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ในอนาคต ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัย ที่ส่งผลต่อการลดลงของค่าสมรรถภาพทางกลไก ของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและเพิ่มสมรรถภาพทางกลไกต่อไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this study were 1) to compare the individual characteristics of students at the Rangsit University : height, weight and motor fitness, and 2) to set a standard norm of motor fitness according the gender and class level group. The subjects include 200 male and 200 female students. The average age of both gender students was 20 ± 4 years. The method used in this study was Barrow Fitness Test, composed of the following tests : standing broad jump, throwing medicine ball, zigzag run and 5 minutes distance run. The basic anthropometric dimensions, height and weight, were for male students 164 ± 8 centimeter and 58 ± 7 kilogam, and for female students 156 ± 4 centimeter and 48 ± 5 kilogam. The tests resulfs for standing broad jump of male and female students where 103.26 inch and 37.22 inch respectively. Medicine ball throwing resulted in a range of 57.47 foot for male and 9.04 foot for female students. The time recorded from the zigzag run were 54.32 and 22.67 seconds for male and female respectively.The recorded distances from 5 minutes run were 1,718.42 and 531.24 meters for male and female students. The motor fitness test of the first year class group is significantly better than the second class group (p<0.05) as third,and fourth year class group students. The lower results of the moter fitness test may be caused by the fact that the total curriculum program put a basic compulsory Physical Education course for 1st year students. Further study should find out factors affect the evolution the lowering of the motor fitness between the second ,third and fourth year students. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1635 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | SpI-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchitra Boonkerd.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.