Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1646
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฉัตรวรัญ องคสิงห์, ชอบวิทย์ ลับไพรี | - |
dc.contributor.author | นภัสรพี เทพคุ้มกัน | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-01T04:41:44Z | - |
dc.date.available | 2023-06-01T04:41:44Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1646 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | แนวคิดการจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่เหมาะสมกับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพราะมีลักษณะเป็นกิจการที่เป็นเจ้าของคนเดียว ใช้เงินทุนไม่ มาก มีความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน และไม่ต้องการเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในการผลิตมากนัก อีก ทั้ง SMEs ยังเป็นธุรกิจของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2556 มีผู้ประกอบการ SMEs จำนวนทั้งสิ้น 2,739,142 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.8 ของภาคธุรกิจในประเทศ ซึ่งมีความสำคัญในการ ช่วยสร้างงานในท้องถิ่น พัฒนาทักษะฝีมือ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ช่วยประหยัดเงินตรา ต่างประเทศและสร้างรายได้เข้าประเทศ นอกจากจะเป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุน สร้างเสริม ประสบการณ์แล้ว ยังเชื่อมโยงกับกิจกรรมขนาดใหญ่ และภาคการผลิตอื่นๆ อีกด้วย ปัจจุบันการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ SMEs โดยใช้องค์ความรู้ ทักษะฝีมือ เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นแนวทางในการ สร้างความเข้มแข็ง และสร้างวัตกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นเครื่องมือทางการดำเนิน ยุทธศาสตร์การแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิตัล หลังจากยุทธศาสตร์เดิมเริ่มไม่ตอบสนองความต้องการ ของตลาด จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีให้กับ SMEs ในการพัฒนาธุรกิจ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา SMEs โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับประกวด รางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ ครั้งที่ 5 และรางวัลชมเชย โดยสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ประกอบการSMEs จำนวน 9 ราย ซึ่งเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จมีแบบแผนในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และกรรมการในการตัดสินรางวัลและผู้เตรียมข้อมูล จำนวน 3 ราย ให้ข้อมูลเกณฑ์การตัดสินรางวัล สุดยอด SMEs ตลอดจนทิศทางในการพัฒนา SMEs ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาการบริหารตาม แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างวัตกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ และกลยุทธ์การตลาด ดิจิตอล(Digital Marketing Strategy) ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน เพื่อเป็น แนวทางให้ SMEs รายอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า 3 ห่วงคือ มีเหตุผล พอประมาณ และภูมิคุ้มกัน ผู้ประกอบการ สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่เกิดช่องว่างทางทฤษฎีของการนำไปใช้คือ 2 เงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม ในการศึกษานี้ได้ข้อค้นพบทางทฤษฎีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ใน SMEs คือ “ASE for SMEs” โมเดล กล่าวคือ ความรู้ที่จำเป็นในการบริหารธุรกิจ ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้ผู้ประกอบการรอบคอบและไม่ประมาท แต่ต้องรอบรู้ในการบริหาร วิเคราะห์ข้อมูล สื่อสารกับพนักงาน และชุมชนสม่ำเสมอ ในการวางกลยุทธ์การบริหารในภาพใหญ่ ควรเพิ่มเติมเรื่องการวางแผนตลาด และกลยุทธ์การตลาดดิจิตอล เพื่อเพิ่มช่องทางสู่ผู้บริโภคใน ต้นทุนที่ต่ำแต่ได้ผลสูง ควรสร้างนวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอ และสิ่งสำคัญคือมีความซื่อสัตย์ มีความ โปร่งใสในการบริหารจะทำให้พึ่งพาตนเองและได้แรงสนับสนุนจากชุมชนให้ธุรกิจอยู่รอดได้ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.subject | วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | en_US |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง -- วิจัย | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | The application of sufficiency philosophy by small and medium enterprises in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | A concept of management by Sufficiency Economy Philosophy is one that is suitable for SMEs due to the fact that SMEs are solely-owned business, call for small-scale investment, operate with flexibility and do not require high manufacturing technology; furthermore, SMEs account for majority of business owners nationwide. In 2013 there exist 2,739,142 SMEs in total, 99.8% of business sectors in Thailand, who play important role to help promote local employment, improve skilled labor, add value to products, decrease demand of foreign exchange and increase national income. Besides, SMEs are starting point of capital investment and can create business experiences as well as connections with large business activity and other production sectors. At present enhancing competitive edge for SMEs with knowledge, skilled labor, technology, innovation, creativity and cultural promotion is a pathway to strengthen and build innovative creativity as a strategic tool for business competition in the digital era after conventional strategy is gradually unable to meet with market demand. This concept is one of the best alternatives for SMEs in business development. The researcher is interested in conducting study in SMEs. The targeted group is SMEs owner who had won the 5th national best SMEs and 9 SMEs who had received compliment rewards because these SMEs are the prototypes with success and manage their business in a systematic style. The study emphasized on management by Sufficiency Economy Philosophy, innovation with creativity and digital marketing strategy to meet with current consumer demand as a guideline for other SMEs. The research revealed that business owners can make use of 3 elements - rationale, moderate and immunity – properly; nevertheless, there is a loophole in theory of the application in terms of knowledge and moral. In this study the researcher found that in theory the application of Sufficiency Economy Philosophy in SMEs is “ASE for SMEs” model that is an essential knowledge in business management. Sufficiency Economy Philosophy will make business owners not only careful and cautious but also versatile in management, analyze information and always communicate to community and their workforces. Marketing plan and digital market strategy should be added in a whole strategic plan to increase channels to consumers with low cost but high productivity. Always create new innovation. However, the most important elements are integrity with transparent management that can rely upon themselves and obtain support from community to make business survive. | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง | en_US |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NAPASRAPHEE THEPKHUMKAN.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.