Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1649
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรวรัญ องคสิงห์, กานต์ โกวิทย์สมบูรณ์-
dc.contributor.authorสมศักดิ์ คุณเงิน-
dc.date.accessioned2023-06-01T07:49:11Z-
dc.date.available2023-06-01T07:49:11Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1649-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556en_US
dc.description.abstractดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทของสหกรณ์การเกษตรในการจัดการเรื่องข้าวของกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และปัจจัยสู่ความสำเร็จของสหกรณ์การเกษตรในการจัดการเรื่องข้าวในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ผลการศึกษา พบว่า สหกรณ์การเกษตรมีบทบาทในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสมาชิกสหกรณ์ตั้งแต่การให้สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกข้าว ตั้งแต่ เมล็ดพันธุ์ การเตรียมแปลง การจ้างดำนา ซื้อปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยว ตลอดจนมีบทบาทเช่นเดียวกับพ่อค้าคนกลางในการรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิก โดยสหกรณ์จะรับซื้อตามราคาตลาดซึ่งอาจเท่ากับพ่อค้าคนกลางหรือสูงกว่า โดยมีการชั่งตวงวัดที่ยุติธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ โดยสหกรณ์การเกษตรบางแห่งมีการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ไม่ให้ขายข้าวในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และเมื่อมีกำไรสหกรณ์จะมีการจ่ายเงินเฉลี่ยคืนปันผล และจัดสวัสดิการแก่สมาชิกเมื่อสิ้นปีทางบัญชี แต่อย่างไรก็ตามสหกรณ์การเกษตรประสบปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรื่องข้าว ได้แก่ การขาดแคลนเงินทุนในการรับซื้อข้าวเปลือกที่จะต้องมีการใช้เป็นจำนวนมาก การขาดวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการรับซื้อข้าวเปลือกรวมทั้งการแปรรูปเป็นข้าวสาร ความไม่พร้อมของบุคลากรของสหกรณ์ทั้งสมาชิก คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ ตลอดจน บทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการ ซึ่งทาให้สมาชิกไม่นาข้าวเปลือกมาจำหน่ายให้สหกรณ์ คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ไม่สามารถบริหารงานและดำเนินธุรกิจตลาดข้าวได้เท่าทันกับผู้ประกอบการ พ่อค้าคนกลาง ภาคเอกชน ทาให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาจากผลกระทบจากโครงการรับจำนาข้าวของรัฐบาล ที่ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าวเปลือก ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เช่น มาตรา 50 เกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งไม่เกินสองวาระๆละสองปี ซึ่งทำให้กรรมการปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยสู่ความสำเร็จของสหกรณ์การเกษตรในการจัดการเรื่องข้าว ได้แก่ รัฐบาลควรให้การอุดหนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการตลาดแก่สหกรณ์การเกษตร เช่น ฉางข้าว ลานตาก เครื่องชั่ง โรงสี และอื่นๆ เพื่อใช้ในการรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรทั่วไป การให้เงินอุดหนุนแก่สหกรณ์การเกษตรที่มีความพร้อมเพื่อสร้างโรงสีข้าวเพื่อแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเพื่อเพิ่มมูลค่า การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่สหกรณ์การเกษตรเพื่อเป็นทุนในการรับซื้อข้าวเปลือก การให้ความรู้ด้านสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ แก่สมาชิกสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ มีการแก้ไขพระราชบัญญัติสหกรณ์ทั้งฉบับเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานกับสหกรณ์ทุกประเภทและทันกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป มีการจัดตั้งวิทยาลัยการสหกรณ์ขึ้นในแต่ละภาคเพื่อทำหน้าที่ในการให้ความรู้แก่บุคลากร แก่สหกรณ์อย่างทั่วถึง มีการปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ยกฐานะเป็นหน่วยงานระดับชาติ หรือกระทรวงการสหกรณ์ เนื่องจากงานสหกรณ์เป็นงานที่คาบเกี่ยวกันหลายกระทรวง และให้เกิดความเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงาน มีการจัดตั้งธนาคารสหกรณ์เป็นการเฉพาะเพื่อรับฝากเงินจากสหกรณ์และบุคคลทั่วไป รวมทั้งการให้เงินกู้แก่สหกรณ์ทั้งระบบทุกประเภทen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectข้าว -- วิจัยen_US
dc.subjectสหกรณ์การเกษตร -- ไทย -- วิจัยen_US
dc.titleข้าวกับบทบาทสหกรณ์การเกษตรในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ที่พึงประสงค์en_US
dc.title.alternativeThe ideal role of Roi Kaen Sara Sin's agricultural cooperatives on riceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe sole purpose of this dissertation is to study and evaluate the role of Roikaensarasin’s Agricultural Cooperatives on rice. Furthermore, It is to troubleshoot and polish the Cooperatives’ road to success in rice management. The result shows that Agricultural Cooperatives in Roikaensarasin group have significant role in helping their members in many ways. They provide agricultural credits to cover the expense of farmers. This includes the cost of seeds, preparation of the fields, hiring labors, fertilizers, insecticides, and harvesting cost. These organizations also act as a middleman with more reasonable price, and they have transparency in the measuring process. Some of them process paddy into grain for sale both domestic market and international market. It is a way to prevent farmers from selling underpriced rice. When making profit, the Agricultural Cooperatives reimburse some money back to farmers through their accounts with the organizations. In addition, they pay dividends and provide benefits to their members. Nevertheless, the Cooperatives are facing many problems in rice management: lack of capital to buy rice from farmers in a large scale, lack of required or adequate equipment for acquiring rice from farmers and processing paddy into grain, and incoordination of members of the cooperatives. Moreover, some of the cooperatives’ staff isn’t able to provide helpful information on principles, cooperatives’ way, including managerial role. These factors contribute to the poor number of farmers that sell rice to the cooperatives. Agricultural Cooperatives is currently unable to compete with middlemen, other competitors, and private sector, because its staff cannot effectively run the program that would match their counterparts in private sector. As a result of the government’s Rice Paddy Mortgage Scheme, farmers have yet to received the promised money. The Cooperative Act of 2542 (BE) also created some problems as well. For example, article 50 states that a committee member has 2-year term. It thus prompts discontinuous and slow progress. Important factors to make a rice management success ought to seriously be achieved. First, the government has to provide adequate equipment to the cooperatives, so they can compete with middlemen. The government also should provide funds so that the cooperatives can build more rice mills, among other things, to increase the value of grain. In addition, it should provide loans with low interest rate to the Cooperatives so that they can buy more rice from farmers. There are other things that need to be changed ranging from providing better information of the program to amending the Act of 2542(BE) for continuous progress. These changes should be able to deal with the ever-changing situation in the society. There should also be cooperative colleges or institutions in every region to educate cooperative staff in every part of the country. Improving cooperative administration should be considered as well so that it would be promoted as a national bureau. Because cooperative is essentially a bureau, it is only natural that it has institutional unity with other sections of the government. Finally, there should be an establishment of cooperative bank dedicated to cooperative organizations.en_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SOMSAK KUNNGERN.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.