Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1651
Title: วิเคราะห์นโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย
Other Titles: Analyzing policies and measures for promoting electric vehicles in Thailand
Authors: เกียรติเสริม มหพันธ์
metadata.dc.contributor.advisor: สิตานนท์ เจษฏาพิพัฒน์, รัตพงษ์ สอนสุภาพ
Keywords: พลังงานไฟฟ้า -- วิจัย;ยานยนต์ -- การใช้พลังงาน -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง วิเคราะห์นโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาหานโยบายและมาตรการที่เหมาะสมในการส่งเสริมยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย และเพื่อศึกษาแนวทางและมาตรการการสื่อสารเพื่อการกระตุ้นให้ประชาชนยอมรับและใช้ยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยการศึกษาเอกสาร ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและทำการเก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการในด้านยานยนต์ไฟฟ้า ผู้ผลิตยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ผู้นำเข้าและจำหน่ายยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า รวม 8 รายในกระบวนการพัฒนางานวิจัยผู้วิจัยได้ดำเนินการทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยการกำหนดนโยบายสาธารณะทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์รถยนต์นั่งประหยัดพลังงานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล หลังจากนั้นทำการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลทั้งหมดนำไปสู่ผลการศึกษาที่จะได้ทั้งบทสรุปของผลการศึกษาและข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาในการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยการกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษ เนื่องจากมลพิษจากการเผาผลาญนํ้ามันที่มีต่อสิ่งแวดล้อมนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นประกอบกับวิกฤตการณ์นํ้ามันในแต่ละครั้งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญของการขึ้นราคานํ้ามันดิบอันส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองรวมถึงปัญหาการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการเนื่องมาจากต้นทุนทางด้านนํ้ามันที่สูงขึ้นฉะนั้นประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงโดยแสวงหาพลังงานทางเลือกใหม่เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนนํ้ามันที่มีราคาถูกกว่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งทางเลือกหนึ่งคือการใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ยานยนต์ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่นิยมของผู้บริโภคคือนโยบายของภาครัฐที่เหมาะสมในการเอื้ออำนวยให้มีการขยายการลงทุนในประเทศโดยนโยบายต่างๆจะต้องมีการบูรณาการอย่างเป็นระบบมีมาตรการจูงใจในด้านภาษีและจะต้องให้ความรู้สร้างความตระหนักกับผู้บริโภคในเรื่องผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะจากการศึกษานโยบายและมาตรการของรัฐมีข้อบกพร่องและจุดอ่อนบางประการพึงแก้ไขประกอบด้วย (1) ต้องเน้นที่อุปสงค์ (Demand) คือ ผู้บริโภคก่อนหากอุปสงค์มีมากแล้ว อุปทาน (Supply) ก็จะตามมาโดยปริยายให้ดำเนินการแพร่กระจายความรู้และข่าวสารให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้บริโภครถยนต์อธิบายเหตุผลและชี้แจงถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์สันดาปภายใน (InternalCombustionEngine) ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่พักอาศัยและทำงานในเมืองได้เป็นอย่างดีเพราะรถไฟฟ้ามีมลพิษเป็น 0% โดยมีมาตรการเช่นจัดการยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้กับผู้ซื้อรถไฟฟ้าและให้ยกเว้นภาษีประจำปีเป็นเวลา5ปีหรือให้ผู้บริโภคผ่อนจ่ายค่ารถไฟฟ้าระยะยาว 5-10 ปี โดยยกเว้นดอกเบี้ยใน 3 ปีแรก (2) เน้นที่อุปทาน (Supply) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต้องได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐอย่างเต็มที่ มีมาตรการช่วยเหลือในด้านการวิจัย พัฒนา สร้างแรงจูงใจเช่น ยกเว้นภาษีเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัตถุดิบนำเข้าเพื่อการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ยกเว้นภาษีสิ้นปี จากกำไรสุทธิ 30% หรือ ลดเหลือ 10% เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าตํ่าลง จนมีราคาใกล้เคียงหรือตํ่ากว่ารถยนต์ธรรมดา (3). เน้นที่โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) รัฐต้องให้การสนับสนุนด้านสถานีประจุไฟฟ้า (Charging Station) ส่งเสริมให้ติดตั้งสถานีชาร์จไฟตามปั้มนํ้ามัน ตามศูนย์การค้า ตามสถานที่สาธารณะของรัฐที่สะดวก โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องชาร์จ (หัวชาร์จ) ทั้งหมดหรือบางส่วน ค่าไฟฟ้าที่จะนำมาทำการชาร์จให้กับรถไฟฟ้านั้น ทางเจ้าของสถานที่มิต้องชำระเต็มตามที่อัตราการไฟฟ้านครหลวงกำหนด โดนรัฐจะให้การสนับสนุนต้นทุนไฟฟ้า
metadata.dc.description.other-abstract: This research analyzes policies and measures for promoting electric vehicles in Thailand. The qualitative research has 2 objectives: to study and identify suitable policies and measures in promoting electric vehicles in Thailand; and explore ways that could encourage consumers in accepting and using electric vehicles in Thailand. The study uses secondary data and information obtained from existing literature, and from 8 in-depth interviews conducted by samples of automotive-related parties, including government authorities, academics, the electric vehicle producers in Thailand, and the importers and sellers of electric vehicle in Thailand. Historical overview of automotive industry in Thailand was made to identify its present structure; policies and measures of selected countries were also reviewed and analyzed for use in the in-depth interviews. The study shows that there is a global movement towards green vehicles and both higher environmental standards and running away fossil prices made such a move imperative. Countries, however, are at different stages in responding to these conditions. As a result, Thailand—which is highly dependent on energy imports—also needs to adjust its policies, and adapt itself by seeking out alternative energy that has a lower cost and less pollution. Electric vehicles are one of such option. A wide range of policies and measures could be used by Thailand to promote electric vehicles, including but not limited to: 1) Proactive government awareness raising for electric vehicles; 2) Use of fiscal measures to promote electric vehicles, including tax, terms of payment, rebate, subsidies, among others. 3) On the supply side, investment in research and development must be made aggressively to bring down costs to consumers and upgrade efficiency of the technology. 4) Investment in infrastructure is crucial for facilitating the use of electric vehicles; this may include provision of charging stations across the country, and efficient batteries.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1651
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KIATSERM MAHAPUN.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.