Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1652
Title: | ภาวะผู้นำสตรีกลุ่มท้อนเงิน (ออมทรัพย์) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือน กรณีศึกษา : แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Other Titles: | The woman's leadership in saving groups and the development of family lives : a case study of Luang Prabang Province, Lao people's democratic republic |
Authors: | บัวลอย อิทธิพร |
metadata.dc.contributor.advisor: | ฉัตรวรัญ องคสิงห์, ประจักษ์ ทรัพย์มณี |
Keywords: | สตรี -- ลาว -- ภาวะผู้นำ -- วิจัย;ภาวะผู้นำของสตรี -- วิจัย;คุณภาพชีวิต -- ลาว -- วิจัย;ภาวะผู้นำ -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | พรรคฯ และรัฐบาลใน สปป.ลาว มีนโยบาย ส่งเสริมบทบาทของผู้หญิง สนับสนุนการพัฒนาในระดับท้องถิ่นให้ผู้หญิงพัฒนาตนเอง มีส่วนร่วมสร้างเศรษฐกิจครอบครัวด้วยการสร้างตั้งกลุ่มท้อนเงินโดยให้แม่หญิงบริหารจัดการทุกขั้นตอนการดำเนินงานในกลุ่ม ซึ่งวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้นำกลุ่มท้อนเงิน และผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มท้อนเงินที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือน ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ และวิธี DEA เพื่อหาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่ม จากนั้นเลือกเอากลุ่มที่ประสบความสำเร็จมาก 3 กลุ่ม และกลุ่มที่ประสบความสำเร็จน้อย 3 กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้นำกลุ่ม สมาชิก และภาครัฐ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ประสบความสำเร็จผู้นำกลุ่มได้คิดนอกกรอบจากกฎระเบียบของกลุ่มท้อนเงิน กล้าตัดสินใจบนความเสี่ยงเพื่อผลกำไล (ดอกเบี้ย) ซึ่งเป็นคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ กล้าเสียง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นตนเอง มีความรับผิดชอบ มีความสามารถในการบริหาร มีความชื่อสัตย์ ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม มุงมั่นความสำเร็จ และรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี นอกจากภาวะผู้นำยังมีการสนับสนุนจากภาครัฐ และทุนของชุมชน ผลสำเร็จดังกล่าวส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตในครัวเรือนตาม 2 มิติ ได้แก่ มิติของภาถรัฐ และมิติของชาวบ้านคือ ชาวบ้านไม่ต้องการกู้เงินที่ออมมาพัฒนาอาชีพ พวกเขาออมเพื่อให้มีกองทุนในหมู่บ้านไว้ช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน มันแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีของคนในชุมชน มีรายได้จากดอกเบี้ย เมื่อฉุกเฉินก็สามารถกู้ด้วยดอกเบี้ยตํ่า ชาวบ้านมองเห็นว่าการออมในกลุ่มท้อนเงินสะดวก และง่าย เพราะไม่ต้องไปธนาคาร หรือต้องทำนิติกรรมต่างๆ ให้ยุ่งยากประโยชน์จากงานวิจัยนี้สามารถสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อตัวผู้นำ การคัดเลือกผู้นำ และการวางนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน |
metadata.dc.description.other-abstract: | The Lao government has a policy in promoting the role of women, support the development on rural area and women can improve themselves, take part in the family business by establishing the saving group and allow women to manage all the process in the group, which the aim of the study is to analyses the factors that lead to the successful of the saving group and the successful of the saving group lead to the development of the quality of life in the family, using the comparative study and the DEA to find out the effective process of the group. Subsequently, chose 3 of the most success groups, 3 of the less success groups, leaders of the groups, member and government. The result found that the successful group, the leader think different from the rules of the saving group, dare to decide on the risk for the benefit (interest), which is the character of the successful entrepreneur namely venture, vision, creation, self-confident, responsibility, management capability, honest, be able to adapt to the environment, commitment to success and value the use of natural resources and environment efficient and properly. Furthermore, there is a supportive from the government and capital of the community, those success lead to the development of quality of life in the family in 2 dimensions which are the government and villagers, the villagers do not have to loan money for improving profession, the saving is the fund of the village for helping each other. This shows the solidarity of the people in community, earning from the interest, when emergent, they can loan with low interest. The villagers can see that saving in the group is comfortable and easy because they do not need to go to the bank and do not need to deal with any complicate document. The benefit from this study create necessary knowledge for the leader, selection of leader and policy making for development the quality of life of the people in community. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1652 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
BOUALOY ITHYPHONE.pdf | 5.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.