Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1657
Title: รูปแบบองค์การบริหารธุรกิจไทยเพื่อสังคมที่ยั่งยืน : กรณีศึกษา บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Thai business organization model for social sustainability : a case study of the Bangchak petrooleum public Company Limited
Authors: วัฒนา โอภานนท์อมตะ
metadata.dc.contributor.advisor: รัตพงษ์ สอนสุขภาพ, ฉัตรวรัญ องคสิงห์
Keywords: บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน);การบริหารธุรกิจ -- วิจัย;การจัดการองค์การ -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบองค์การบริหารธุรกิจไทยเพื่อสังคม ที่ยั่งยืน อันประกอบด้วยลักษณะองค์การและกระบวนการบริหารจัดการองค์การโดยใช้บริษัท บางจากปิโตรเลียม จากัด (มหาชน) เป็นกรณีศึกษา ต่อไปเรียกว่า บริษัท บางจากฯ สำหรับระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบผสมคือ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการบริษัท บางจากฯ และสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการสหกรณ์ที่ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันบางจาก จำนวน 25 ราย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนสมาชิกสหกรณ์แต่ละแห่งทั่วประเทศ จำนวน 587 ราย ผลการวิจัยพบว่า บริษัท บางจากฯ มีรูปแบบใกล้เคียงกับรูปแบบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ตามความหมายของ Bill Drayton (2001), Gregory Dees (2001), Roger Martin & Sally Osberg (2007) และของสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (2556) โดยแตกต่างกันที่เป้าหมายสูงสุดของกิจการเพื่อสังคมที่มุ่งการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลกำไร แต่รูปแบบของบริษัท บางจากฯ เป็นรูปแบบที่มีเป้าหมายสร้างความสมดุลทั้งผลกำไร ประโยชน์ต่อสังคม และประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าองค์การก็ยั่งยืน อีกทั้งมีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนให้สังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง จึงถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับองค์การบริหารธุรกิจในประเทศไทยที่ยังให้ความสำคัญมากกับผลกำไร ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นกิจการเพื่อสังคมเต็มรูปแบบ และยังมีรูปแบบตามแนวคิดทฤษฏีขององค์การบริหารธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืน กล่าวคือ มีลักษณะเป็นองค์การบริหารธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ นโยบาย และวัฒนธรรมที่ชัดเจนถึงการดำเนินธุรกิจที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคม อันนาไปสู่ความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัท บางจากฯ นับเป็นองค์การที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างแนวคิดตามระบบเศรษฐศาสตร์สังคมนิยมเชิงนิเวศ (Eco-Socialism Economics) หรือ แนวเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่ยึดแนวคิดความยั่งยืนของระบบนิเวศ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นศูนย์กลางกับแนวคิดตามระบบเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมที่เน้นกลไกตลาด (Market Economy) ซึ่งเน้นการแข่งขันและแสวงหากำไรเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งมีกระบวนการบริหารจัดการที่คงความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจเหมือนองค์การธุรกิจทั่วไป แต่มีกระบวนการบริหารจัดการที่แตกต่างคือให้ความสำคัญกับการเปิดเผย โปร่งใส ส่งเสริมกลไกการตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing) สร้างความยั่งยืนต่อสังคมและระบบนิเวศภายใต้กรอบคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการของโลกตะวันตกที่เน้นประสิทธิผลด้านเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงประสิทธิผลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และมีรูปแบบการดาเนินธุรกิจร่วมกับองค์การอื่นแบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ (Partnership Model) อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่ากระบวนการบริหารจัดการของบริษัท บางจากฯ จะมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแนวคิดการบริหารจัดการตามทฤษฎีของโลกตะวันตกก็ตาม แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือการผสมผสานแนวคิดการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย กล่าวคือ แนวคิดการมององค์การและสังคมเหมือนครอบครัวเดียวกัน เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล แบ่งปัน ร่วมคิด ร่วมทา และ ทำงานด้วยความสุข เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลย์ของประสิทธิภาพทั้งด้าน ธุรกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ไม่โน้มเอียงไปด้านธุรกิจมากเกินไป การที่จะให้องค์การบริหารธุรกิจไทยที่อยู่ภายใต้ระบบเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมที่เน้นกลไกตลาดมาช้านาน พร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นองค์การบริหารธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืนตามแนวคิดระบบเศรษฐศาสตร์สังคมนิยมเชิงนิเวศ หรือ แนวเศรษฐกิจสีเขียว นั้น จะต้องเริ่มต้นด้วยการปรับวัตถุประสงค์ขององค์การโดยยึดแนวคิดความยั่งยืนเป็นศูนย์กลางและเน้นการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืน รวมทั้งปรับกระบวนการบริหารจัดการให้ผสมผสานระหว่างแนวทางการบริหารจัดการสมัยใหม่กับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้มุ่งเน้นประสิทธิผลทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับประสิทธิผลทางธุรกิจที่ใช้รูปแบบการดำเนินธุรกิจร่วมกันกับองค์การอื่นแบบเครือข่ายเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Partnership Model For Social Sustainability)
metadata.dc.description.other-abstract: This purpose of this research is to study a Model of Thai Business Organization for Social Sustainability, using the Bangchak Petroleum Company Public Limited or BCP as a case study. Mixed methods of qualitative and quantitative research were used. The qualitative method included an in-depth interview in which the researcher used purposive sampling to identify key informants. They were classified into 2 groups. The first group consisted of 10 key informants who had/are having the authority on policy making and administration during the periods they were/are on duty for the BCP. The second group consisted of 15 key informants who are having the authority on policy making and administration for the top-ranking Agricultural Cooperatives all over the country, which are doing the business of gas service stations with the BCP. As for the quantitative research, a questionnaire was answered by 587 representatives of cooperatives’ members from all cooperatives doing the gas service station business with the BCP. The result of the study showed that the BCP model was similar to Social Enterprise (SE) defined by Bill Drayton (2001), Gregory Dees (2001), Roger Martin & Sally Osberg (2007) and Thai Social Enterprise Office (2013). However, the ultimate goal of SE is to solve the social and environmental problems rather than financial profit maximization whereas that of the BCP Model for Social Sustainability is to balance all of three; the financial profit, the social and environmental benefits. This Model was proved to be a new definition for Social – oriented Business Enterprise before developing to be a Social Enterprise. Additionally, the BCP Model for Social Sustainability is in line with the theoretical – derived Conceptual Model for Social Sustainability. The BCP has clearly stated the objectives, vision, policy, and culture which are meant to improve social development on both well-being and environment which are believed to be the key elements of sustainability. The BCP’s characteristics are the combination of Green Economy concept under Eco – Socialism Economics, which focuses on social and ecological benefits rather than financial profit and Market Economy concept under Liberalism Economics which focuses on competitiveness and profit maximization. The Market Economy does not emphasize social and environment. The BCP has its effective management processes to enhance its competitiveness with its peers. But the transparency and the process of promoting social marketing under ethical framework are its additional value. These management processes could effectively deliver the balance benefits of economic, social and environment whilst the modern business management process typically only focuses on profit maximization. The Partnership Model for Social Sustainability between the BCP and the Cooperative Network is the sucessful case. The BCP not only adopts a western style (7S Framework of Mckinsey) to strengthen its competitiveness with its peers, but also applies a Thai style management concept of family to give and take and to share happiness in the work place in order to make sure that the financial profit, social and environmental benefits can be well balanced. If present business organizations influenced by Market Economy for a long time have strong intention to transform their organization to be a part of Green Economy, they will have to start with revising their corporate objectives. The consolidation of sustainability context with existing objective is strongly suggested and followed by the revision of corporate culture on both business culture and employee culture. For corporate management processes, they have to be revised by consolidating the sustainability context under ethical framework to make sure that the balance of economic, social and environmental benefits are successfully achieved. The Partnership Model for Social Sustainability should be applied for effective results of social benefits.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1657
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WATTANA OPANON-AMATA.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.