Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1658
Title: การบริหารความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชุมชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาโครงการท่าเรือแหลมฉบัง จัหวัดชลบุรี
Other Titles: Conflict management between public sector and community in Thailand : a case study of Laemchabang port, Chonburi Province
Authors: สุภัสตรา เก้าประดิษฐ์ ทรัพย์ชูกุล
metadata.dc.contributor.advisor: ชอบวิทย์ ลับไพรี, นฤมิตร สอดสุข
Keywords: ความขัดแย้งในองค์กร -- วิจัย;ท่าเรือแหลมฉบัง -- วิจัย;ท่าเรือแหลงฉบัง -- ความขัดแย้ง -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุความขัดแย้ง ผลกระทบของความ ขัดแย้งอันเนื่องจากโครงการท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรีและเพื่อเสนอรูปแบบการบริหารความ ขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชุมชน โดยวิธีการศึกษาใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกการสนทนากลุ่ม เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบบเจาะจงคือ ตัวแทนชุมชนบ้านแหลมฉบัง ผู้บริหารภาครัฐ และนักวิชาการ รวมจำนวน 9 คนและ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า(1) สาเหตุของความขัดแย้งอันเนื่องจากโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 1 และ 2 เช่น ปัญหาด้านโครงสร้างการบริหารจัดการของภาครัฐ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติตาม แบบบนลงล่าง ด้านผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ด้านความสัมพันธ์ซึ่งเกิดความเกลียดชังและไม่ ไว้วางใจระหว่างกัน ปัญหาด้านการเข้าถึงและการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร (2) ผลกระทบของความ ขัดแย้งประกอบด้วยด้านบวก เช่น ความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม คนในชุมชนส่วน หนึ่งมีงานทำ มีกิจการเพิ่ม เช่น การทำร้านอาหาร การสร้างที่พักให้เช่า และคนในชุมชนมารวม พลังกันเป็นกลุ่มพัฒนา สำหรับด้านลบ เช่น เกิดความแตกแยกของคนในชุมชน ผลกระทบทางจิตใจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนอาชีพ การไม่มีเอกสารสิทธิ์ การขาดความไว้วางใจต่อหน่วยงาน ภาครัฐ และ (3)การบริหารความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับชุมชนในอดีต ภาครัฐใช้วิธี “การ เผชิญหน้าหรือการต่อสู้แข่งขัน (Competing)” และการใช้ “ความรุนแรงทางวาจาหรืออารมณ์ (Verbal or Emotion abuse) ส่วนชุมชนมีการใช้วิธี “การหลีกเลี่ยง (Avoiding)” วิธี “การเผชิญหน้า หรือต่อสู้ (Competing)” และวิธี“การดึงด้านบวกมานำด้านลบ(Leading to the positive ways)” ใน ปัจจุบันการท่าเรือแหลมฉบังได้ใช้วิธีการ “เข้าถึงชุมชนเพื่อเข้าใจและพัฒนา”ส่วนชุมชน ก็ได้ใช้ วิธีการให้ “ความร่วมมือร่วมใจ (Collaboration)”และ “พลังเครือข่าย (Network)” อันจะทำให้อยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือภาครัฐก่อนการตัดสินใจในการทำโครงการพัฒนาท่าเรือ ควรยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงาน การสร้างความร่วมมือและการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการจัดการความขัดแย้งอันจะเป็นการป้องกันการผลิตซ้ำความผิดพลาดของโครงการฯ สำหรับการวิจัยครั้งต่อไปเช่น การศึกษาต้นแบบที่ดีในการบริหารความขัดแย้งของโครงการท่าเรือ ในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this qualitative research were to explore the causes and impacts of conflict due to the Laemchabang port in Chonburiprovince and to propose a model for conflict management and resolutions between the government and the community. The research methods used observation, in-dept interviews, focus group, and the structured interview as the research tool. The 9 key informants consisted of villagers, agent government executive agent and scholar. The collected data was analyzed by content analysis. The results showed that: (1) The causes of conflict due to Laemchabang Port Project Phase 1 and 2 were such as the policy implementation in the top down method, The different interests, hate and distrust relationship among government and community, and misinformation or distortion.(2) The conflict impacts consisted of the positive impact such as economic prosperity of the country as a whole, people in the community had jobs at industrial estate, owning restaurant or rented accommodation and the negative impacts such as the communitydivided into pro and con toward the port, emotional effects, environmental problems, career changed,no right documents, the lack of trust toward government agencies.and(3) Conflict resolution between government and community sectors. In the past the government used “confrontation or competing method” and “verbal or emotional violence” while the community employed “avoiding, confrontation or competing” and “leading to the positive ways.” Currently Laemchabang Port uses the method of “access to the community to understand and to develop” while the community uses the “collaboration” and the “social network” which will make them living together in peace. The research suggestions were the government should follow the principles of good governance, building collaboration relationships with other multi-sectors and developing the information technology for conflict management and resolution to prevent any errors reproduction of the project. Thefuture research will be exploring the best practice of controversial port projects both in Thailand and other countries
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1658
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SUPATRA KAOPRADIT SUPCHUKUL.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.