Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1659
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรวรัญ องคสิงห์, สุธรรม รัตนโชติ-
dc.contributor.authorเบญจางค์ เคียงสุนทรา-
dc.date.accessioned2023-06-01T08:35:08Z-
dc.date.available2023-06-01T08:35:08Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1659-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ของสังคมไทยในปัจจุบัน และยุทธศาสตร์การจัดการกับความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทย โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ประกอบด้วย ผู้นำครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ นักวิชาการ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชน นักบวช รวม 33 คน และผู้กระทำ ความผิดเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว ผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวซึ่งไม่ประสงค์จะ เปิดเผยชื่ออีก 12 คนรวมทั้งสิ้นจำนวน 45 คน และการสำรวจด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) กับ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 10 เขต ของกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรงภายในครอบครัวของสังคมไทย เกิดจากเงื่อนไขหลายปัจจัย โดยกลุ่มตัวอย่างมีทัศนะว่าความรุนแรงในครอบครัวในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ( X = 3.57, S.D. = .61) รายละเอียดประกอบด้วย 1) ด้านบุคคล ได้แก่ การขาดความพร้อมของพ่อแม่ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของคู่สมรส การติดยาเสพติดการพนัน และการนอกใจคู่สมรส การอบรมเลี้ยงดูที่ไม่เท่าเทียมกัน การมี ประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัว การขาดความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่การเป็นพ่อแม่ที่ ดีภายในครอบครัว และความผิดปกติของจิตและบุคลิกภาพ 2) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาความยากจน การว่างงาน การมีหนี้สิน ยึดติดในวัตถุนิยมและ บริโภคนิยม ตามกระแสโลกาภิวัตน์ 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัดและเสี่ยง การยั่วยุมอมเมา ของสื่อ การไม่มีเวลาให้แก่กันภายในครอบครัว 4) ด้านจิตวิทยา ได้แก่ ค่านิยมที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงกับชาย ที่ให้ความสำคัญกับเพศ ชายมากกว่าเพศหญิง และการห่างไกลจากศีลธรรมและคุณธรรมของสมาชิกในครอบครัว ขาดการ ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมทั้งจากครอบครัวและสถาบันการศึกษา 5) ด้านการศึกษา ได้แก่ การขาดองค์ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ การขาดความรู้ในการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและการขาดความรู้ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ส่วนยุทธศาสตร์หรือวิธีการจัดการความรุนแรงในครอบครัวที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีลักษณะเป็น “LEGAL PROCESS” ที่ประกอบด้วย 1) ด้านกฎหมาย เน้นการใช้กระบวนการหลักเกณฑ์ ทางกฎหมายเป็นหลัก แต่ยังขาดการบังคับใช้ที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลต่อการตีความ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) การนำกฎหมายไปปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังขาดความเข้าใจถึง บทบาทหน้าที่ ขาดการเชื่อมต่อข้อมูลหรือกระบวนการทำงานไม่ต่อเนื่อง 3) การขาดความคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว เน้นการปลูกฝังการเสริมสร้างด้านจิตใจให้กับประชาชน และ ประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ถึงกฎหมายที่คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงและบทลงโทษผู้กระทำความ รุนแรง สำหรับยุทธศาสตร์การจัดการกับความรุนแรงในครอบครัวที่เหมาะสมกับสังคมไทย ควร เน้นแนวทางการป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นภายในครอบครัว และการยุติความรุนแรงด้วยสันติ วิธี โดยเน้นให้สมาชิกในครอบครัวตระหนักถึงคุณค่าซึ่งกันและกัน ด้วยการสร้างความไว้วางใจต่อ กันที่จะนำไปสู่การจัดการหรือลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ในรูปแบบของ “STOP FAMILY VIOLENCE” อยู่ในระดับมาก ( X = 3.99, S.D. = .64) รวมทั้งยังพบว่า จากการวิเคราะห์ทัศนคติเกี่ยวกับสาเหตุปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ของสังคมไทยในปัจจุบัน เกิดจากภูมิหลังการเลี้ยงดูจากครอบครัวเดิมที่แตกต่างกัน อย่างสอดคล้อง กันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ 1 สำหรับภูมิหลังของประชากรที่แตกต่าง กัน การจัดการปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของประเทศไทยแตกต่างกัน พบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์การจัดการกับความรุนแรงในครอบครัวที่เหมาะสมกับสังคมไทยกับภูมิหลังของ ครอบครัวที่แตกต่างกัน พบว่า ตัวอย่างมีทัศนะคติที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 จึง แปลผลได้ว่า ภูมิหลังของประชากรที่แตกต่างกัน ใช้การจัดการปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่ แตกต่างกัน เป็นไปตามสมมติฐานที่ 2 และยังพบว่า อีกว่าตัวอย่างที่เป็นเพศชาย มีทัศนคติเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์การจัดการกับความรุนแรงในครอบครัวที่เหมาะสมกับสังคมไทยที่สูงกว่าเพศหญิง เพียง เล็กน้อยเท่านั้น โดยยุทธศาสตร์การจัดการกับความรุนแรงในครอบครัวมีความสัมพันธ์กันในระดับปาน กลางกับสาเหตุของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทย และเป็นไปในทิศทางเดียวกันen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัว -- วิจัยen_US
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัว -- การป้องกัน --วิจัยen_US
dc.titleยุทธศาสตร์การจัดการความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทยen_US
dc.title.alternativeDomestic violence management strategy for Thai societyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe main objective of this research is to study the causes of domestic violence and strategies to deal with family violence in Thai society using in-depth interviews of 33 luminaries or key informants consisting of householders living in Bangkok, scholars, psychologists, social workers, justice practitioners, independent human rights organizations, clergymen, and 12 domestic violence offenders, undisclosed victims, totaling 45 people, as well as questionnaires from a sampling of 400 individuals living in 10 districts in Bangkok. The results from the research discovered that domestic violence in Thai society was caused by many factors and conditions. The overall sampling group provides an outlook at a statistical significance of ( X = 3.57, S.D. = .61) consisting of: 1) Individual: includes unavailability of parents, inappropriate spouse’s behavior, drug addiction, gambling, marital infidelity, parenting inequality, personal experience in domestic violence, irresponsibility of being a role model parent, and mental and personality disorders. 2) Economic: includes poverty, unemployment, mounting debt, attachment to materialism and consumerism by globalization. 3) Social and culture: includes a crowded and vulnerable environment, influence of media incitement, and lack of time for family. 4) Psychology: inequality between women and men that holds higher significance to males than females, being far from the morals and ethics of the family members, lack of morals and ethics instilled by both family and educational institutions. 5) Education: the lack of knowledge in sex education, conflict resolution by peaceful means and knowledge of human rights. The strategy to handle domestic violence from the past to the present has found that there is a “LEGAL PROCESS” that includes 1) The Law: Focuses on the legal process as the main criteria, but there is still a lack of effective enforcement, which affects the interpretation of the related agencies, 2) Enforcing the law: Agencies still lack an understanding of their role and lack a connection of information or the working process isn’t continuous, 3 ) The lack of protection for victims of domestic violence: Promotes to the public the strengthening of the mind, public awareness of the law that protects victims of violence and sanctions for violence. Strategies for dealing with domestic violence in Thai society should focus on the prevention of violence that occurs within the family, and ending violence by peaceful means. Emphasizing that family members recognize the value of each other by building trust to contribute to the management and reduction of domestic violence in the form of “STOP FAMILY VIOLENCE” at a statistical significance of ( X = 3.99, S.D. = .64). In addition, based on the analysis of attitudes towards the causes of domestic violence in Thai society, the research found that it is caused by parenting backgrounds by different host families which corresponds statistically at a significance of 0.01 in accordance to the first hypothesis. In the case of backgrounds of different population groups which yields a different approach in managing violence in the family in Thailand, the research found that the attitude towards the strategy in dealing with family violence in Thai society and the various family backgrounds show the significant differences in attitudes, statistically at 0.01. The results show that people of different backgrounds tackle domestic violence differently in accordance to the second hypothesis. It was also discovered from the male sample that their attitude towards strategies to deal with violence in the family that is appropriate to Thai society is only slightly higher than female’s. The strategy in dealing with domestic violence correlated moderately in the same direction as the cause of the problem of domestic violence in Thai society.en_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BENJANG KIANGSOONTRA.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.