Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1660
Title: กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นกับการกระจายอำนาจ
Other Titles: Local health insurance funds with decentralization
Authors: ภูมินทร์ ชุมนุมพร
metadata.dc.contributor.advisor: รัตพงษ์ สอนสุขภาพ, ศรัณย์ ธิติลักษณ์
Keywords: การกระจายอำนาจ;กองทุนหลักประกันสุขภาพ;หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระจายอำนาจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (3)เพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแยกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย และ กลุ่มผู้ทรงคูณวุฒิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และ กลุ่มประชาชนผู้รับประโยชน์จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น การวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูลการสัมมนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ที่มาของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นมีที่มาจากกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ (1)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพ.ศ. 2550 (2) พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (3) พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีหลักคิดที่สำคัญ เพื่อ ต้องการให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม และเข้ามามีบทบาทในการจัดบริการสาธารณสุขด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพระดับขั้นพื้นฐาน อีกทั้งสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม ในส่วนของผลกระทบจากการกระจายอำนาจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นั้น พบว่า ในมุมมองของกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย และ ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นว่า เป็นผลสำเร็จของการกระจายอำนาจที่สามารถกระจายงบประมาณลง สู่ท้องถิ่น และท้องถิ่นได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมของกองทุนฯ เกินกว่า ร้อยละ 95 อีกทั้ง ได้มีท้องถิ่นจำนวนหนึ่งสร้างนวัตกรรมใหม่ ในด้านที่เกี่ยวกับการส่งเสริม การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพขึ้นในพื้นที่ของตนเอง อีกทั้งในระดับผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในส่วนของผู้บริหารกองทุนฯก็เห็นว่าเป็นความสำเร็จ และเป็นสิ่งที่ดีของการกระจายอำนาจการจัดการด้านสาธารณสุขในการใช้จ่ายงบประมาณที่สะดวก ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน และการบริหารงานก็เป็นในรูปของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ที่ผ่านการคัดสรรมาจากตัวแทนทุกภาคส่วนในพื้นที่ ในทางตรงกันข้ามผลการวิจัยอีกด้านหนึ่งที่ได้จากคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ในส่วนของตัวแทนจากสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ พบว่า โดยหลักการของกองทุนฯ ถือว่ามีหลักการที่ดีที่จะกระจายอำนาจลงสู่ภาคประชาชนที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ดูแล และแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยด้วยตนเอง แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกตัวแทนในส่วนที่มิได้มาจากการแต่งตั้งโดยตำแหน่งโดยต้องคัดเลือกจากภาคส่วนต่างๆ ในรูปของตัวแทน มากกว่าร้อยละ 90 มาจากการคัดสรรจากผู้บริหารท้องถิ่นโดยจะเลือกจากผู้ที่มีความใกล้ชิดหรือพวกพ้องเข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ในส่วนของการอนุมัติแผนงาน/โครงการ ก็ไม่ได้เป็นแผนงาน/โครงการที่มาจากความต้องการของภาคประชาชนโดยแท้จริง นอกจากนั้น ยังมีการใช้งบประมาณจากกองทุนฯ ผิดจากวัตถุประสงค์หรือไม่ตรงตามที่ได้อนุมัติในแผนงาน/โครงการ ในส่วนของภาคประชาชน พบว่า ประชาชนที่ร่วมสัมมนากลุ่มย่อยไม่รู้จักกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ไม่เคยร่วมกิจกรรมในการคัดเลือกตัวแทนในส่วนของภาคประชาชน
metadata.dc.description.other-abstract: This research aims. (1) Study of the Health Insurance Fund in local areas. (2) To study the effects of decentralization of the National Health Security Office to the health fund local areas. (3) To provide policy recommendation in the relevant section. Groups provide information classified into 3 groups and policymakers who multiplier or the National Health Security Office. Policy practice group leader and beneficiaries of public funds local health. The research used qualitative research. The instrument used was a questionnaire Records and small group seminars. Data were analyzed using content analysis. The results showed that the source of funds is the main local-level health insurance that comes from the law, 3 Edition are as follows: (1) Constitution of the Kingdom of Thailand BE 2540 and BE 2550 (2) Act. Formulating plans and procedures to decentralized. Local Government Act 2542 (3) Act. Coverage of the National Health Act 2545, the main idea is to require public participation. And have a role in the health and health promotion. Prevention and rehabilitation, basic level. You can also quickly access health services. Thoroughly and fairly. The impact of decentralization of the National Health Security Office to fund health coverage or local area. Found that in view of the ever multiplying the degree of policy makers and the National Health Security Office that the success of the decentralization that can be distributed to local people and local budgets for the activities of the Fund beyond. 95 percent also have a number of local innovation in the areas of promotion. Prevention and rehabilitation in their own space. The leading policy implementation on the part of fund managers was seen as a success and a great deal of decentralization in health spending, convenient and no complicated steps. it is administered in the Form of the Management Board funds through selected from representatives of all sectors in the area. In contrast, the other findings from the Fund's Executive Board in the representation of health facilities in the area found that, in principle, the Fund's considered a good principle to decentralized down to the public. to the general public's participation in management. Health care and solve problems on their own. But in practice it is not so. From the selection of the most representative is not from a position chosen by the selection of the different parts of the agent. More than 90 percent from the selection of local administrators will be selected from those who are very close allies to the board of directors or fund. The approved plan / project. It is not a program / project comes from the real needs of the public. It also includes the use of budget funds the wrong purpose or do not meet the approval of the program / project. In the public sector, found that people who attend small group seminars unknown local Health Insurance Fund. Did not participate in the selection of the representatives of civil society
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1660
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LT.JG. PHUMINTARA CHUMNUMPORN.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.